>>ประเพณีอิสลาม

อ่าน 638 | ตอบ 0
ประเพณีอิสลาม
การแต่งงาน

ความเป็นมา
อิสลาม ได้บัญญัติเรื่องการแต่งงาน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้มีการสืบพันธุ์และรักษาเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ และเพื่อให้แต่ละฝ่าย ได้สร้างความสนิทสนม แน่นแฟ้น และผูกพัน และเพื่อให้แต่ละฝ่ายมีที่พังพิง และปรึกษา หารือในขณะที่ เหน็ดเหนื่อย และ ทุกข์ยากกับการดำเนินชีวิต จนกระทั่งทั้งสองได้บรรลุ ถึงความรักใคร่และความเมตตา ดังที่ อัลลอฮฺทรงตรัสไว้ว่า ความว่า: และบางสัญลักษณ์ของอัลลอฮฺ คือ การที่พระองค์ทรงสร้างคู่ครองแก่พวกเจ้ามาจากตัวของพวกเจ้าเอง ทั้งนี้เพื่อ พวกเจ้าจะได้สงบอยู่กับนาง และพระองค์ทรงบันดาลความรักและความเมตตาให้มีขึ้นระหว่างพวกเจ้า (อัรรูม : 21) อัลลอฮฺ ได้บัญญัติการแต่งงาน และถือว่าการแต่งงานเป็นรัฐธรรมนูญที่มั่นคงต่อการดำเนินชีวิตแห่ง มนุษยชาติ โดยมี เป้าหมาย อันประเสริฐที่สอดคล้องกับการเป็นมนุษย์ที่อัลลอฮฺทรงยกย่อง และได้วาง บทบัญญัติให้เขายึดถือปฏิบัติ เพื่อเขาจะได้มีชีวิตที่ดีและออกห่างจากความต่ำช้า และไม่ออกจากแนวทาง แห่งพระองค์ และเมื่อเราปรารถนาที่จะ อธิบาย ถึงเป้าหมาย ของการแต่งงานในอิสลาม เราจะพบว่ามันไม่ได้หยุดอยู่ที่ความต้องการทางเพศเท่านั้น แต่มันมีเป้าหมายอื่นอีก เช่น ทางด้านสังคม จิตใจ และศาสนา

เป้าหมายในการแต่งงาน
1. รักษาเผ่าพันธุ์มนุษย์ให้มั่นคงอยู่ต่อไป เพราะว่าการแต่งงานเป็นสื่อของการสืบพันธุ์ และการให้กำเนิด บุตรหลาน และการสืบทอดเผ่าพันธุ์หนึ่งหลังจากเผ่าพันธุ์หนึ่ง โดยดังกล่าวนี้ ไม่สามารถที่จะเกิดขึ้น ได้ด้วยการมีสัมพันธ์กันอย่าง ไม่ถูกต้อง ซึ่งมันเป็นแนวทางที่ศาสนารังเกียจ อีกทั้งยังก่อให้เกิดความ ไม่เป็นธรรม ต่อกัน ท่านศาสดามุฮัมมัด นั้นส่งเสริม การสืบเชื้อสายด้วยการแต่งงาน โดยมีรายงานจาก มะอฺก้อล บุตรยะซาร ว่า ชายคนหนึ่งได้มาหาท่านนบี (ซ.ล.) แล้ว กล่าวว่า “โอ้ท่านรอซู้ล (ซ.ล.) ฉันได้พบผู้หญิงคนหนึ่งที่เป็นผู้หญิงที่ดี สวย และมีวงศ์ตระกูลดี และก็มีตำแหน่ง เกียรติยศ และร่ำรวย เว้นแต่ว่านางไม่สามารถมีลูก ฉันจะแต่งงานกับนางหรือ ”ท่านนบีได้ห้ามเขา หลังจากนั้นเขา ก็ได้กลับมาหา ท่านนบีอีกเป็นครั้งที่สอง ท่านนบีก็ได้กล่าวเช่นเดิม หลักจากนั้นเขาก็ได้กลับมาหาอีกเป็นครั้งที่สาม ท่านนบีก็ได้กล่าวว่า“ พวกเจ้าทั้งหลายจงแต่งงานกับหญิงที่รักที่มีลูกดก เพราะว่าเราปรารถนาที่จะ ให้พวกเจ้านั้น เป็นประชาชาติที่มีจำนวนมาก
2. การแต่งงาน นั้น คือ รากฐานของครอบครัวที่มั่นคงและแข็งแกร่ง ซึ่งห้อมล้อมไปด้วยหน้าที่และสิทธิต่าง ๆ ด้วยกับความศักดิ์สิทธิ์แห่งศาสนา โดยที่เขามีความรู้สึกว่า การแต่งงานนั้น คือสายสัมพันธ์อันศักดิ์สิทธิ์ที่ทำให้ ความเป็นมนุษย์ของเขาสูงขึ้นและยังเป็น สายสัมพันธ์ แห่งจิตวิญญาณ ที่สอดคล้องกับความสูงส่งของมนุษย์ ที่แตกต่าง จากความต่ำต้อยของสัตว์ที่ ความสัมพันธ์ของมันระหว่างเพศผู้และเพศเมีย
คือ ความสัมพันธ์ทาง อารมณ์ความใคร่เท่านั้น ยิ่งไปกว่านั้นความสัมพันธ์แห่งชีวิตคู่นั้นยังทำให้จิตใจสงบ และเพิ่มพลังให้แก่เขา ในการทำศาสนกิจ และความสนิทสนมของเขากับภรรยานั้นยังทำให้เขานั้นผ่อนคลาย และปลดเปลื้อง ความเหน็ดเหนื่อย ซึ่งทำให้เกิดความ สบายใจ มีชีวิตชีวาและจำเป็นสำหรับจิตใจ ของผู้ที่ยำเกรง ที่เขาจะต้องพักผ่อน และผ่อนคลายด้วยกับสิ่งที่ศาสนาอนุญาต ดังกล่าวนี้ อัลลอฮฺได้ทรงตรัสไว้ในเรื่อง การแต่งงานว่า ความว่า :ทั้งนี้เพื่อพวกเจ้าจะได้สงบอยู่กับนาง (อัรรูม: 21)
3. การแต่งงาน คือ การสร้างภูมิคุ้มกันจิตใจของมนุษย์ และทำให้จิตใจออกห่างจากการล่วงละเมิดสิ่งที่ต้องห้าม โดยอนุญาตให้ทุกคน สนองความต้องการทางเพศไปในทางที่ถูกต้องตามศาสนบัญญัติ และละทิ้ง การปล่อยอารมณ์ ไปตามอำเภอใจ ดังทีอัลลอฮฺทรงตรัสไว้ว่า ความว่า: และพระองค์ทรงอนุมัติแก่พวกเจ้า กรณีอันนอกเหนือไปจากที่กล่าวมานั้น เพื่อให้พวกเจ้าใช ้ทรัพย์สินของพวกเจ้า แสวงหา สตรีที่อัลลอฮฺทรงอนุมัติให้สมรสด้วย ได้แบบการสมรสตามทำนองคลองธรรม มิใช่แบบผิดประเวณี (อันนิซาอฺ: 24) และวจนะของท่านศาสดามุฮัมมัดที่ว่า ความว่า: โอ้บรรดาหนุ่มๆ ทั้งหลาย บุคคลใดที่มีความพร้อม สามารถแต่งงานได้ ก็จงแต่งงานเถิด แท้จริงการแต่งงานนั้น จะทำให้สายตาลดต่ำลงและเป็นการรักษาอวัยวะเพศ ส่วนบุคคลใดก็ตามที่ไม่สามารถ ก็จงถือศีลอดเถิด แท้จริงการถือศีลอดนั้นจะปกป้องรักษาอวัยวะเพศ และสายตาให้พ้นจากความผิด
4. การแต่งงาน คือ การต่อสู้กับอารมณ์และฝึกฝนจิตใจในการดูแลและรักษาหน้าที่และเอาใจใส่ ประโยชน์ของคนอื่น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสิทธิต่างๆ ของภรรยา บุตร และการดูแลเอาใจใส่ในการเลี้ยงดูบุตร และอดทนต่อมารยาทของภรรยา จากความอุดสาหะที่จะปรับปรุงสภาพของนาง และชี้แนะนาง ไปสู่แนวทางอันเที่ยงตรงของศาสนาอิสลาม และนี่คือ ส่วนหนึ่ง ของเป้าหมายและความสูงส่งอันยิ่งใหญ่ในการบัญญัติเรื่องการแต่งงานของอิสลาม

นิกะห์
นิกะห์เป็นพิธีแต่งงานของผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม เริ่มต้นเมื่อชายหญิงตกลงใจกันและฝ่ายชายจะส่งผู้ใหญ่ไปสู่ขอเรียกว่า มาโซะมินตะ หรือมนีแน การสู่ขอนี้จะตกลงกันระหว่างผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่าย เกี่ยวกับเรื่องมะฮัว สินสอดทองหมั้น และตกลงเรื่อง กำหนดวันแต่งงาน (นิกะห์) การทำพิธีนิกะห์ จะต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ
1. ผู้ปกครองของฝ่ายเจ้าสาว เรียกว่า วะลี คือชายที่มีสิทธิในการประกอบพิธีนิกะห์ให้แก่หญิง ซึ่งจะต้องเป็นชายที่นับถือศาสนาอิสลามที่ไม่เป็นคนวิกลจริต และไม่อยู่ในระหว่างประกอบพิธีฮัจญ์
2. ผู้ทำพิธีนิกะห์ ผู้ปกครองอาจทำพิธีนิกะห์เอง หรือมอบให้โต๊ะอิหม่าม โต๊ะครู ก็ได้
3. เจ้าบ่าว
4. พยาน 2 คน ต้องเป็นชายมุสลิมที่เชื่อถือได้
5. ผู้อบรมหรืออ่านคุฎะฮ์นิกะห์
6. มะฮัร คือ สินสอดทองหมั้นที่จะมอบแก่เจ้าสาว

พิธีการนิกาะห์
ขั้นตอนการทำพิธีนิกะห์
วันทำพิธีผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงจะเชิญโต๊ะอิหม่ามหรือโต๊ะครูเป็นประธาน และต้องมีองค์ประกอบให้ครบ 6 ประการ ตามหลักศาสนาที่กล่าวมาข้างต้นด้วย การทำพิธีนิยมทำที่บ้านเจ้าสาว เมื่อเจ้าบ่าวและผู้ใหญ่มาถึงบ้านเจ้าสาว บิดาของเจ้าสาวก็จะไปขอความยินยอมจากเจ้าสาว (ขณะนั้นเจ้าสาว อยู่ในห้อง) โดยบิดาเจ้าสาวกล่าวว่า “ข้าจะแต่งงานเจ้ากับ(ออกชื่อเจ้าบ่าว) เจ้าจะยินยอมหรือไม่” เจ้าสาวจะให้คำตอบ ถ้าไม่ยินยอมพิธี จะดำเนินไปไม่ได้ถือว่าผิดหลักศาสนา จากนั้นบิดาฝ่ายเจ้าสาวก็มอบภารกิจ (วอเก) การแต่งงานให้กับโต๊ะอิหม่าม โดยกล่าวว่า “ข้าพเจ้าขอมอบให้ท่านอิหม่ามทำพิธีแต่งงานลูกสาวข้าพเจ้าชื่อ…(ออกชื่อเจ้า สาว) กับ ...(ออกชื่อเจ้าบ่าว) ” เสร็จแล้วโต๊ะอิหม่ามก็จะตอบว่า “ข้าพเจ้าขอรับวอเก” แล้วเรียกเจ้าบ่าวเจ้าสาวและพยาน 2 คน พร้อมด้วยผู้จดบันทึกหลักฐาน จากนั้นโต๊ะอิหม่ามหรือผู้ทำพิธีนิกะห์ จะ สอนเจ้าบ่าวเจ้าสาวเกี่ยวกับการครองชีวิตคู่ ย้ำถึงเจ้าบ่าวเจ้าสาว พยาน เงินสินสอด เสร็จแล้วโต๊ะอิหม่ามจะจับมือ เจ้าบ่าวพร้อมกับกล่าวว่า “โอ้..(ออกชื่อเจ้าบ่าว) ที่แต่งงานกับ…(ออกชื่อเจ้าสาว) โดยได้รับ การมอบฉันทะจากบิดาฝ่ายหญิง แก่ข้าโดยมีค่าสินสอด..(บอกจำนวนสินสอด)” เมื่อโต๊ะอิหม่ามกล่าวจบแล้วเจ้าบ่าวจะกล่าว รับว่า “ข้าพเจ้ายอมรับการแต่งงานนี้ โดยมีสินสอดจำนวนดังกล่าวนี้” จากนั้นโต๊ะอิหม่ามจะอ่านดูอาเพื่อให้พระอัลลอฮ์ ทรงประธานพรแก่คู่บ่าวสาวโต๊ะอิหม่ามจะบอกหลักของการเป็นสามีภรรยาแก่เจ้า บ่าวว่า ตามหลักศาสนาจากนั้นผู้เป็นสามีต้องดูแลภรรยาและอยู่ร่วมกันตามหน้าที่ของ สามี ภรรยา หากไม่เป็นเช่นนี้ผู้เป็นภรรยาก็มีสิทธิ์จะฟ้องร้องสามี ต่อคณะกรรมการอิสลามหรือดาโต๊ะยุติธรรมได้ดังนี้จากนั้นโต๊ะ อิหม่ามจะอ่านดูอา เพื่อให้พระอัลลอฮ์ ทรงประธานพรแก่คู่บ่าวสาวเสร็จแล้ว โต๊ะอิหม่ามจะบอกหลักของการเป็น สามี ภรรยา แก่เจ้าบ่าวว่า ตามหลักศาสนา นั้นผู้เป็นสามีต้องดูแลภรรยาและอยู่ร่วม กันตามหน้าที่ของ สามี ภรรยา หากไม่เป็นเช่นนี้ผู้เป็นภรรยาก็มีสิทธิ์จะฟ้องร้องสามี ต่อคณะกรรมการอิสลามหรือดาโต๊ะยุติธรรมได้ ดังนี้
1. สามีออกจากบ้านเกิน 3 วัน โดยไม่ได้รับการยินยอมจากภรรยา หากภรรยาฟ้องร้อง ต่อคณะกรรมการอิสลามก็จะต้อง มีการพิจารณา และสามีต้องให้เงินค่าเลี้ยงดู
2. สามีออกจากบ้านเกิน 6 เดือน โดยไม่ได้รับการยินยอมจากภรรยา ถือว่าหมดสภาพการเป็น สามี ภรรยา ขั้นตอนสุดท้ายมีการลงชื่อ โต๊ะอิหม่าม เจ้าบ่าว เจ้าสาว บิดาฝ่ายหญิง และพยาน ในหนังสือสำคัญเพื่อเป็น หลักฐานการสมรสเป็นอันว่าเสร็จพิธีโดยสมบูรณ์ แล้วจึงจัดพิธีฉลองการสมรส เชิญแขกเหรื่อ มาร่วมกัน เลี้ยงในงาน “มาแกปูโละ” ภายหลังซึ่งอาจจะจัดหรือไม่จัดก็ได้

วาลีมะห์
การเลี้ยงฉลองการแต่งงาน
หลังแต่งงานสามารถจัดงานเลี้ยงฉลองได้ เรียกว่า 'วะลีมะฮ' ซึ่งจัดเลี้ยงที่บ้าน สโมสร หรือโรงแรมก็ได้ ตามสะดวก การเลี้ยงฉลองอาจไม่ต้องทำในวันเดียวกับวันนิกาหก็ได้ แต่การเลี้ยงฉลองนั้นต้องไม่เกิน 2 วัน เพราะอิสลามเคร่งครัด ในเรื่องของงานเลี้ยงที่ฟุ่มเฟือย โดยมีคำกล่าวไว้ว่า 'งานเลี้ยงที่เลวที่สุดคือ งานเลี้ยงพิธีนิกาห และเลี้ยงเฉพาะคนรวย' เพราะศาสนาอิสลามเชื่อว่าทุกคนเท่าเทียมกันไม่มีการแบ่งชั้นวรรณะ


อ้างอิงจาก http://www.centerwedding.com ภาพประกอบจาก http:// www.annasru.com

การอากีเกาะห์
อา กีเกาะห์ เป็นสุนัตมุอักกัด อากีเกาะห์ คือ สิ่งที่จะถูกนำมาเชือดในวันที่ 7 ของวันที่เด็กเกิดซึ่งสิ่งที่จะ ถูกเชือดให้กับเด็กผู้ชาย คือ แกะ 2 ตัว และให้กับเด็กผู้หญิง คือ แกะ 1 ตัว อากีเกาะห์ตามหลักภาษาแล้ว คือ ชื่อของเส้นผมที่อยู่บนหัวของเด็กแรกเกิด และความหมายของอากีเกาะห์ตามหลักนิติบัญญัติก็ คือ ชื่อของสิ่งที่จะถูกเชือดใน วันที่ 7 ของการเกิดของเด็ก ซึ่งเป็นวันที่มีการโกนผมไฟเด็ก


หลักฐานในการทำอากีเกาะห์
อากีเกาะห์เป็นสุนัต ซึ่งได้มีรายงานจากพระนางอาอีชะห์และฮาดิษของท่านอื่นๆ เช่น ฮาดิษของ ท่านสัมเราะห์ ได้กล่าวว่า ความว่า: ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ (ศ็อลฯ) ได้กล่าวว่า เด็กนั้นถูกประกันด้วยกับ อากีเกาะห์ของเขา ซึ่งอากีเกาะห์ของเขาจะถูกเชือดแทนเขาในวันที่ 7 (ของวันที่เด็กเกิด) และเด็กจะ ถูกโกนผมไฟ และถูกตั้งชื่อในวันนั้น อากีเกาะห์จะถูกเชือดให้กับเด็กผู้ชายด้วยกับแกะ 2 ตัว และให้กับเด็กผู้หญิง แกะ 1 ตัว ดังที่มีรายงาน จากอุมมู่กัรซฺ ว่าความว่า: แท้จริงท่านนบี (ศ็อลฯ) ได้กล่าวว่า จะแทนเด็กผู้ชาย 2 ตัวแกะ และจะแทนเด็กผู้หญิง 1 ตัวแกะ
ขั้นตอนหลังจากให้กำเนิดบุตร
ได้มีฮาดิษของพระนางอาอีชะห์ว่า ความว่า: ท่านศาสนทูต แห่งอัลลอฮฺ ได้สั่งใช้เราให้ทำอากีเกาะห์ให้ กับเด็กผู้ชายด้วย กับแกะ 2 ตัว และให้กับเด็ก ผู้หญิงด้วยกับแกะ 1 ตัว ในวันที่เด็กเกิดจะถูกนับไป 7 วัน ซึ่งวันที่เกิดนั้นจะถูกนับตั้งแต่แสงอรุณขึ้นจนถึง พระอาทิตย์ตก หากว่าเด็กเกิดหลังจากพระอาทิตย์ตกไปแล้วให้นับวันถัดไป ท่านรอฟีอีและคนอื่นๆ ได้กล่าวเสริมว่า ไม่ควรเกิน 7 วัน ในหนังสืออัลอุดดะห์ และหนังสืออัลฮาวีย์ ของท่านมาวัรดีย์ได้ระบุว่า แท้จริงอากีเกาะห์หลังวันที่ 7 จะต้องชดใช้ หากเกิน 7 วันไปแล้ว ที่ดีก็ไม่ให้เกินระยะการหมดนิฟาส ของมารดา (นิฟาส คือ เลือดที่ออกมาขณะคลอดบุตร ซึ่งอย่างน้อยของนิฟาส คือ ช่วง เวลาไม่กี่นาที และอย่างมากไม่เกิน 10 วัน) และหากว่าเกินระยะหมดนิฟาส ที่ดีก็ไม่ให้เกินระยะการให้นมเด็ก (2 ปีเต็มตามศาสนบัญญัติ) และหากว่าเกินระยะการให้นมเด็ก ที่ดีก็ไม่ให้เกิน 7 ปี และหากว่าเกิน 7 ปี ที่ดีก็ไม่ให้เกินบรรลุนิติภาวะของเด็ก และหากว่าเกินบรรลุนิติภาวะ อากีเกาะห์ก็จะหลุดไป โดยตกไป อยู่ในการรับผิดชอบของผู้ถูกกำเนิด ดังนั้นเขาจะต้องเป็นผู้เลือก ในการทำอากีเกาะห์ให้กับตัวเองในตอนโต

สิ่งที่ควรทำหลังจากให้กำเนิดบุตร
1. สุนัตให้แจ้งข่าวดี เพราะอัลลอฮฺทรงตรัสไว้ว่าความว่า:แท้จริงอัลลอฮฺ ทรงแจ้งข่าวดีให้กับท่านด้วย กับยะห์ยา
2. สุนัตให้อาซานใส่หูขวา และอิกอมะห์ใส่หูซ้ายเด็ก เพราะได้มีฮาดิษของท่านอบีรอเฟียะอฺ ว่า แท้จริงฉันเห็น ท่านศาสดาอาซานละหมาดใส่หูท่านฮาซัน อิบนุ อาลี ในขณะที่พระนางฟาติมะห์ให้กำเนิด และมีสุนัตให้อ่านอัลกุรอานบทอาละอิมรอนโองการที่ 36
3. สุนัตให้ป้ายเพดานปากด้วยกับอินทผลัม เพราะได้มีฮาดิษของท่านอบีมูซาว่า ลูกชายของฉันได้ถูกให้ กำเนิดแล้วฉันก็ได้นำตัวไปหาท่านนบี (ศ็อลฯ) แล้วท่านนบีก็ได้ตั้งชื่อให้ว่าอิบรอฮีม และได้ป้ายเพดานปาก ด้วยกับอินทผลัม

สิ่งที่ควรทำในวันที่ 7 หลังคลอดบุตร
1. โกนผมไฟ และให้จ่ายซอดาเกาะห์เป็นเงินเท่ากับน้ำหนักของเส้นผมที่โกน เพราะท่านศาสดามูฮำมัด ได้กล่าวกับพระนางฟาติมะห์เมื่อคลอดท่านฮาซันว่า จงโกนผมฮาซัน และจงจ่ายซอดาเกาะห์ (บริจาคทาน) เท่ากับน้ำหนักของเส้นผมเป็นเงินให้กับคนยากจน
2. ตั้งชื่อเด็ก โดยอนุญาตให้ตั้งชื่อได้ในวันที่ 1 หรือวันที่ 3 จนวันที่ 7 ซึ่งเป็นทำอากีเกาะห์ เพราะ ท่านนบีได้กล่าวว่า ในคืนนั้นลูกของฉันถูกให้กำเนิด แล้วฉันก็เรียกชื่อเขาว่า อบีอิบรอฮีม
3. ทำการขลิบอวัยวะเพศ ซึ่งเวลาของการขลิบ บางทรรศนะได้กล่าวว่า จะต้องอยู่ในช่วงสัปดาห์แรก จากการเกิดบางทรรศนะกล่าวว่า ให้ขลิบก่อนบรรลุนิติภาวะ และที่ถูกต้องและประเสริฐที่สุดก็คือวันที่ 7 หลังจากถูกให้กำเนิด เพราะได้มีฮาดิษของท่านญาบีรว่า ท่านศาสดามูฮำมัดได้ทำอากีเกาะห์ในกับท่าน ฮาซันและฮูเซ็น และได้ทำการขลิบอวัยวะเพศของทั้งสองในวันที่ 7 แน่นอนการขลิบสำหรับผู้ชายถือว่าเป็น วายิบ สำหรับผู้หญิง คือ สุนัตลักษณะ ของแกะที่จะถูกนำมาทำอากีเกาะห์จะต้องครบ 1 ปีเต็ม และจะต้อง ปลอดภัยจากสิ่งที่เป็นตำหนิ และสามารถที่จะนำเอาอูฐ หรือวัวมาทำอากีเกาะห์ได้โดยถือว่า เป็นประเสริฐกว่า แกะและแพะ (เพราะอูฐหรือวัวนั้นมีเนื้อมากกว่าแกะ หรือแพะที่มีเนื้อน้อยกว่า ซึ่งสามารถแจกจ่าย ให้กับคนจนได้เป็นจำนวนมาก) ซึ่งเป็นทรรศนะที่ถูกต้องที่สุด บางทรรศนะว่าแกะดีกว่า เพราะเป็นสิ่งที่ถูก ระบุไว้ในฮาดิษ
(อ้างอิงหนังสือ: กิฟายะห์ อัลอัคย๊าร ของท่านอิหม่ามตะกียุ้ดดีน อบีบักร อิบนุ มูฮำมัด อัลฮูซัยนีย์ หน้าที่ 655)
สุนัตให้ทำการกล่าว ขณะเชือด สุนัตให้เชือดขณะพระอาทิตย์ขึ้น ท่านอิหม่าม นาวาวีย์ ได้ให้น้ำหนักว่า ควรที่จะเชือดอากีเกาะห์หลังจากโกนผมไฟ เพราะได้ปฏิบัติตามการกล่าวอย่าง เป็นลำดับ ของฮาดิษที่ว่าเด็กนั้นถูกประกันด้วยกับอากีเกาะห์ของเขา ซึ่งอากีเกาะห์ของเขา จะถูกเชือด แทนเขาในวันที่ 7 (ของวันที่เด็กเกิด) และเด็กจะถูกโกนผมไฟ และถูกตั้งชื่อ (ในวันนั้น) สุนัตให้ฟัน เนื้ออากีเกาะห์โดยไม่ให้กระดูกแตก เพื่อเป็นการทำให้เกิดลางดีด้วยกับการ มีอวัยวะที่สมบูรณ์และ ปราศจากข้อตำหนิของเด็ก (อ้างอิงหนังสือ: อัลวาซีต ฟีลมัซฮับ เล่มที่ 7 หน้าที่ 152-153 หนังสือ ตั้วะฟะตุ้ลอะวัซย์) ท่านอิบนุ อัซซิบาฆได้กล่าวว่า หากว่ากระดูกแตก ก็ไม่ถือว่าเป็นมักโร๊ะห์ แต่อย่างได้ (เพราะการถือลางดีนั้นท่านนบีสนับสนุน แต่การถือลางร้ายนั้น ท่านนบีห้ามเด็ดขาด) สุนัตให้นำเนื้อ อากีเกาะห์มาทำเป็นอาหารและนำไปแจงจ่ายให้กับคนยากจน โดยมีสุนัตอยู่ว่าให้ทำเป็นอาหารที่มี รสหวานตามทรรศนะที่ถูกต้องที่สุด เพื่อเป็นลางดีด้วยกับการทำให้เด็กมีจรรยามารยาทที่อ่อนหวาน
โดย..อะห์มัด อิบนุอาลี http://www.sunnahstudent.com/forum/








การแต่งกาย
ซุนนะในการแต่งกาย
1. ซุนนะฮฺแต่งกายด้วยชุดสีขาว รอซุลลอฮฺชอบสวมใส่เสื้อผ้าสีขาว (หะดีษ ตีรฺมีซี , อิบนุมาญะฮฺ)
2. ซุนนะฮฺให้สวมใส่ข้างขวาก่อนข้างซ้าย ทั้งเสื้อผ้า รองเท้าหรืออื่นๆ (หะดีษ บุคอรี , มุสลิม , ติรฺมิซี)
3. อนุญาตให้สวมใส่ผ้าโสร่งหรือผ้าถุงได้แต่ต้องไม่คร่อมตาตุ่ม หากคร่อมตาตุ่ม ส่วนที่เหลือลงไปนั้นจะเป็นส่วนของไฟนรก (หะดีษ บุคอรี มุสลิม นะซาอี อิบนุมาญะฮฺ)
4. ชุดญูบะฮฺของท่ารอซูลิลลอฮฺจะเลยเข่าลงไป แต่ไม่เลยตาตุ่ม (หะดีษ ติรฺมิซี)
5. รอซุลฺลลอฮฺชอบที่จะสวมญบะฮฺหรือชุดลึก (หะดีษ ติรฺมิซี , นะซาอี)
6. รอซุลุลลอฮฺเคยสวมเสื้อผ้าสีแดง ดำและสีขาว
7. ซุนนะฮฺให้สวมเสื้อผ้าที่เรียบง่าย รอซุลุลลอฮฺจะสวมเสื้อผ้าชุดพิเศษในวันอีด วันศุกร์ และในกรณีที่ต้องรับแขก (หะดีษ นะซาอี)
8. แขนเสื้อของท่านรอซุลุลลอฮฺยาวถึงข้อมือ (หะดีษ ติรฺมีซี , อิบนุมาญะฮฺ)
9. ขณะที่สวมเสื้อผ้าให้กล่าวดุอาอฺว่า “ อัลหัมดุลิลลาฮิลละซี กะซานีฮาซา วะรอซะเกาะนีฮิ มินฆัยริเหาลีนมินนี วะลากูวะฮฺ ”
10. เมื่อสวมเสื้อผ้าใหม่ซุนนะฮฺให้อ่านดุอาอฺว่า “ อัลลอฮุมมะละกัลหัมดุ อันตะกะเซาตะนีฮิ อัสอะลุกะค็อยรอฮุ วะคัยรอมาศุนิอะฮฺละฮู วะอะอูซุบิกะมินชัรฺริฮิ วะชัรฺริมาศุนิอะฮฺละฮู ”
11. ซุนนะฮฺให้สวมหมวกและสัรฺบัน ความแตกต่างระหว่างมุสลิมกับมุชริกเกี่ยวกับสัรฺบันคือ มุสลิมโพกสัรฺบันทับบนหมวก (หะดีษ มุสลิม , ติรฺมิซี)
12. สัรฺบันของท่านรอซูลจะมีชายห้อยลงระหว่างไหล่ทั้งสองข้างของท่าน (หะดีษ มุสลิม , ติรฺมีซี)13. สัรฺบันของท่านรอซูลุลลอฮฺขณะเข้าเปิดเมืองมักกะฮฺเป็นสีดำ (หะดีษ บุคอรี , มุสลิม)
14. ซุนนะฮฺให้สวมรองเท้าหนัง (เคาฟฺ) (หะดีษ ติรฺมีซี)
15. รองเท้าของท่านรอซูลุลลอฮฺมีเชือกทั้งสองด้าน (หะดีษ บุคอรี , มุสลิม , ติรฺมีซี , นะซาอี)
16. ทางที่ดีไม่ควรยืนสวมหรือถอดรองเท้า
17. ทางที่ดีควรถอดรองเท้าข้างซ้ายออกก่อนแต่เมื่อสวมให้สวมข้างขวาก่อน (หะดีษ บุคอรี)
18. ผ้าห่มของท่านรอซุลุลอฮฺมีดอกที่ริมผ้า (หะดีษ ติรฺมิซี)

การแต่งกายที่ต้องห้าม
1. ไม่อนุญาตให้สวมเสื้อผ้าที่ทำจากหนังสัตว์ หนังเสือ และสัตว์เถื่อนอื่นๆ (หะดีษ ติรฺมิซี , นะซาอี , อิบนุมาญะฮฺ)
2. อัลลอฮฺและรอซูลทรงสาปแช่งผู้ชายที่แต่งกายเลียนแบบผู้หญิง (หะดีษ บุคอรี , ติรฺมีซี , นะซาอี)
3. ไม่อนุญาตให้สวมเสื้อผ้าที่คับรัดรูป (หะดีษ นะซาอี)
4. ห้ามสวมเสื้อผ้าที่ทำให้เกิดการเย่อหยิ่งลำพอง และหรูหราฟุ้งเฟ้อ (หะดีษ บุคอรี , นะซาอี , อิบนุมาญะฮฺ)
5. ห้ามผู้ชายสวมใส่ผ้าไหมและทอง (หะดีษ บุคอรี , มุสลิม) ยกเว้นผู้ที่เป็นโรคผิวหนังซึ่งจำเป็นต้องใส่ผ้าไหมก็อนุโลมให้ (หะดีษ บุคอรี , นะซาอี , อิบนุมาญะฮฺ)
6. ห้ามลอกเลียนแบบการแต่งกายของชาวยิวและคริสต์ (หะดีษ อิบนุมาญะฮฺ)
7. อย่าสวมเสื้อผ้าที่มีแขนข้างเดียว (หะดีษ บุคอรี)
8. ห้ามสวมใส่เสื้อผ้าที่ถูกย้อมสี (หะดีษ ติรฺมิซี)
9. ห้ามสวมใส่เสื้อผ้าที่ไม่ปกปิดทุกส่วนของเอาเราะฮฺ (หะดีษ บุคอรี , มุสลิม)
10. ห้ามสวมใส่เสื้อผ้าสีเหลืองอมแดง (ซึ่งเป็นสีที่ชาวฮินดู หรือชาวพุทธมักจะสวมใส่) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่ผู้ชาย (หะดีษ บุคอรี, มุสลิม)
11. ห้ามใส่รองเท้าข้างเดียว หากจะถอดก็ให้ถอดทั้งสองข้าง (หะดีษ บุคอรี , มุสลิม , ติรฺมิซี)

คัดลอกจากหนังสือ แบบอย่างอันอัศจรรย์และอัจฉริยะของศาสดามุฮัมหมัด (ซ.ล.)ในวิถีชีวิตประจำวัน
แหล่งอ้างอิง http://maifatema.spaces.live.com/

การแต่งกายของสตรีมุสลิม(มุสลิมมะห์)
1. ปกปิดส่วนที่พึงสงวน (หลักฐานจากอัลกุรอาน)
2. ไม่บาง (หะดีษ บุคอรี , มุสลิม , มาลิก)
3. ไม่รัดรูป (หะดีษ อบูดาวุด)
4. ไม่แต่งกายเลียนแบบกาฟิรฺ มุชริกีน (หะดีษ อิบนุมาญะฮฺ)
5. ไม่ใช้เครื่องหอมยกเว้นเพื่อสามีเท่านั้น (หะดีษ ฎ็อบรอนี , นะซาอี , อะหมัด , ฮากิม)
6. ไม่เป็นการแต่งกายเพื่อโอ้อวดหรือลำพองตน (หะดีษ บุคอรี , นะซาอี)
7. สีของเส้อผ้าควรเป็นสีทึบ (หะดีษ อิบนุมาญะฮฺ) มีรายงานว่า เมื่อคำสั่งเรื่องฮิญาบถูกบัญญัติลงมานั้น สตรีผู้ศรัทธาทั้งหลายจึงปกปิดเรือนร่างของนางประหนึ่งนกกา (สีดำ)





การแต่งกายของบุรุษ (มุสลิมมีน)
1. ห้ามไม่ให้บุรุษเปลือยกาย ส่งเสริมให้สวมผ้าอาภรณ์ที่ปกปิดร่างกายให้เรียบร้อย
2. ห้ามไม่ให้บุรุษสวมใส่อาภรณ์และเครื่องประดับของสตรี
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :
 


สถิติจำนวนผู้เข้าชม
เปิดเมื่อ12/04/2012
อัพเดท23/02/2013
ผู้เข้าชม4703
แสดงหน้า8900
Facebook Muslimstudentrru
Facebook คณะกรรมการ
 
 
เวลาละหมาด
ปฎิทิน
May 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
   
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31