>>วันสำคัญของอิสลาม

อ่าน 783 | ตอบ 0
อาชูรออ์
อาชูรออ์ แปลว่า วันที่ 10 เป็นวันไว้อาลัยโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นต่ออิมามฮุเซนบิน อะลีย์ บินอะบีฏอลิบ เนื่องจากถูกสังหารในสงคราม อัฏฏ็อฟ ในอิรัก เมื่อวันที่ 10 มุฮัรรอม ฮ.ศ. 61 ซึ่งตรงกับวันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 680 มุสลิมในประเทศไทย มีการทำอาหารชนิดหนึ่งเรียกว่า บูโบร์อาชูรอ เป็นคำในภาษา
มลายูปาตานี - กลันตัน เป็นชื่อขนมกวนชนิดหนึ่ง เป็นคำที่เพี้ยนมาจากคำว่า บูบูรอาชูรออ์ ในภาษามลายูมาตรฐานที่แปลว่า ขนมกวนวันที่สิบนั่นเอง อาชูรออ์ เป็นคำที่ยืมจากภาษาอาหรับอาชูรออ์ แปลว่าวันที่ 10 ซึ่งในอิสลามหมายถึงวันที่ 10 แห่งเดือน มุฮัรรอม แห่งปฏิทินอิสลาม ชาวมลายูในภาคใต้จะมีการทำบุญร่วมกัน โดยการทำขนมที่มีชื่อว่า บูโบซูรอ วิธีการทำก็คือ โดยการ กวนข้าว น้ำตาล มะพร้าว กล้วย ผลไม้อื่นๆ และวัตถุดิบต่างๆ ที่ชาวบ้านนำมา เอามาผสมกันในกะทะใหญ่ และช่วยกันกวนคนละไม้คนละมือ จนกระทั่งทุกอย่างเละจนกลายเป็นเนื้อเดียวกัน มีการปรุงรส ให้มีรสชาติหวาน ตัดด้วยรสเค็มนิดหน่อยจนกระทั่งว่า ได้ที่แล้วจึงตักใส่ถาดรอให้ขนมเย็นเอาไปเลี้ยงคน หรืออาจจะเก็บ ไว้กินวันต่อไปก็จะมีรสชาติอร่อยไปอีกแบบ ผู้รู้เชื่อว่าประเพณีการกวนขนมในวันนี้ เป็นประเพณีของชีอะหฺ แม้ว่า จะมีการอ้างว่ารำลึกถึงเหตุการณ์อื่นๆ ก็ตาม มุสลิมซุนนีย์บางพวกจะถือศีลอดงดอาหารในวันอาชูรออ์

การกวนขนมอาซูรออ์
ความประเสริฐของวันอาชูรออ์กับการถือศีลอด
ได้มีฮาดีษมากมายได้รายงานถึงความประเสริฐของวันอาชูรออ์กับ การถือศีลอด ซึ่งได้รับการยืนยันจากวจนะของท่านศาสดามูฮัมหมัด (ซ.ล.) โดยที่เราจะยกมากล่าวบางฮาดีษ ในหนังสือซอฮีฮัยน์ได้มีรายงานจากท่านอิบนิอับบาสว่า เขาได้ถูกถามถึงวันอาชูรออ์ ท่านอิบนิอับบาสจึงกล่าวไปว่าความว่า: ฉันไม่เคยเห็นท่านศาสดามูฮัมหมัด (ซ.ล.) สักวันที่จะให้ความประเสริฐกับวันต่างๆ นอกจากวันนี้ หมายถึงวันอาชูรออ์ และเดือนนี้ เดือนรอมมาฎอน อย่างที่เราได้กล่าวมาก่อนนี้ว่า วันอาชูรออ์นั้น มีความประเสริฐยิ่ง และมีเกียรติยิ่ง ในอดีตกาล โดยที่ท่านนบีนูฮฺ (อ.) จะทำการถือศีลอดเพื่อเป็นการขอบพระทัยต่ออัลลอฮฺ และท่านนบีมูซา (อ.) ก็ได้ทำการถือศีลอด เพื่อ เป็นการขอบพระทัยต่ออัลลอฮฺ และให้เกียรติกับวันอาชูรออ์ ยิ่ง ไปกว่านั้นชาวคัมภีร ์ยิวและคริสต์ ต่างก็ทำการถือศีลอดในวันอาซูรออ์ และชาวกุเรชในยุคญาฮีลียะฮฺ ก็ได้ถือศีลอดในวันอาซูรออ์เช่นกัน ท่านศาสดามูฮัมหมัด (ซ.ล.) ได้ทำการถือศีลอดในวันอาชูรอที่มักกะฮฺ และก็มิได้สั่งใช้ให้ผู้ใดทำการ ถือศีลอด ครั้นเมื่อท่านศาสดา (ซ.ล.) ได้มายังมาดีนะฮ และได้เห็นว่าชาวคัมภีรได้ถือศีลอดและให้ความ สำคัญกับวันอาชูรออ์ และท่านศาสดาจึงมีความต้องการให้มีความสอดคล้องกันกับชาว คัมภีร์ในสิ่งที่ท่านศาสดาไม่เคยสั่งใช้การ ถือศีลอดในวันอาชูรออ์ ท่าน ศาสดาจึง ได้ถือศีลอดและสั่งใช้ให้อัครสาวก ในวันนี้ด้วย ซึ่งได้มีรายงานในหนังสืออัซซอฮีฮัยน์ ซึ่งรายงานมาจากท่านอิบนิอับบาสว่า
ความว่า: ท่านศาสดามูฮัมหมัด (ซ.ล.) ได้ย่างก้าว เข้าสู่มาดีนะฮฺ แล้วพบว่าชาวยาฮูดีย์ (ยิว) ได้ถือศีลอดในวันอาชูรออ์ ท่าน ศาสดาจึงกล่าว กับพวกเขาว่า 'วันนี้เป็นวันอะไรซึ่งพวกท่านได้ถือศีลอดกัน' พวกเขากล่าวว่า 'วันนี้เป็นวันอันยิ่งใหญ่ที่อัลลอฮฺ ได้ทรงให้ท่านนบีมูซาและกลุ่มชนของเขารอดพ้นจาก ฟาโรห์ และเป็นวันที่อัล ลอฮฺได้ทรงทำ ให้ฟาโรห์ และพรรคพวกจมน้ำ แล้วท่านนบีมูซาก็ได้ถือศีลอด ในวันนี้ เพื่อเป็นการขอบพระทัยต่ออัลลอฮฺ พวกเราจึงได้ถือศีลอดกัน ในวันนี้ด้วย ท่านศาสดาจึงได้กล่าวต่อไปว่า 'แน่นอนเรามีสิทธิ์และ ดีกว่าพวกท่านเนื่องด้วยนบีมูซา' และท่านศาสดา ก็ได้ถือศีลอด และสั่งใช้ให้อัครสาวกถือศีลอดในวันอาชูรอนี้ ครั้งเมื่อการกำหนดฟัรดู การถือศีลอดในเดือนรอมมาฎอนถูกประทานลงมา ท่านศาสดา จึงได้ละทิ้งการสั่งใช้ให้อัครสาวก ถือศีลอดในวันอาชูรออ์ และ ส่งเสริม ให้ถือศีลอดในวันอาซูรออ์เท่านั้น ซึ่งไม่ถือว่าเป็นเรื่อง ที่จำเป็นใดๆ แต่เป็นเพียงสุนัตเท่านั้น เพราะได้มีฮาดีษในหนังสืออัซซอฮีฮัยน์ ซึ่งรายงานมาจากท่านอิบนิอุมัรว่า
การทำขนมอาชูรออ์

ขนมอาซูรรอ์

เมาลิด
เมาลิด เป็นคำนามเกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งจะแปลความหมายเป็นเวลา หรือสถานที่นั้นย่อมขึ้นอยู่กับ ส่วนขยายภายในประโยค ดังนั้น เมาลิด หมายถึง สถานที่เกิดของท่านนบีอย่างแน่นอน

เมาลิดนบีตรงกับวันอะไร
นักวิชาการต่างมีความเห็นตรงกันว่า นบีมุฮัมหมัด (ซ.ล.) เกิดในวันจันทร์เดือน รอบีอุลเอาวัล ปีช้าง เพราะท่าน อิมามมุสลิมได้บันทึกหะดีษไว้ในหนังสือ ซ่อเฮียหของท่านจาก อบีกอตาดะฮรฎิฯ ว่าท่านร่อซูลศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ถูกถามเกี่ยวกับ การถือศีลอดในวันจันทร์ ท่านกล่าวว่า “นั่นคือวันที่ฉันเกิด วันที่ฉันได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนบี และเป็นวันที่อัลกรุอานได้ถูกประทาน มายังฉัน” แต่จะตรงกับวันที่เท่าไหร่นั้น นักวิชาการมีความเห็นแตกต่างกัน ท่านอิบนุอิสหาก ผู้บันทึกชีวประวัติของท่านนบีคนแรกมีความเห็นว่า ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ.ล.) เกิดในวันที่ 12 เดือนรอบีอุลเอาวัล ท่านอิบนุฮิชาม ได้รายงานอยู่ในหนังสือชีวประวัติของท่านนบีมุฮัมหมัด (ซีเราะฮ.อิบนิฮิชาม)

การย่อย่องวันเกิดของท่านนบีมุฮัมหมัด
ท่านนบีมูฮัมหมัด (ซ.ล.) ได้ให้แบบอย่างในการย่อย่องวันเกิดของท่าน ดังปรากฎในหะดีษ ซึ่งรายงาน โดยท่านอิมานมุสลิม ซึ่งได้หยิบยกมากล่าวแล้วข้างต้น คือ การถือศีลอดในวันจันทร์ ขณะเดียวกัน ท่านหญิงอาอิซะฮ. ท่านอบูฮุรอยเราะฮ. และท่านอุซามะฮ อิบนุเซด ได้กล่าวว่า ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ.ล.) ชอบถือศีลอดในวันจันทร์เมื่อท่านถูกถามเกี่ยวกับการนี้ ท่านกล่าวว่า “นั่นเป็นวันที่ฉันเกิด และได้มีการ แต่งตั้งการเป็นนบีแก่ฉัน” นอกจากนั้นท่านอบูฮุรอยเราะฮฺ ยังได้รายงานหะดีษจากท่านรอซูล (ซ.ล.) ว่าท่านได้ถือศีลอดในวันจันทร์และวันพฤหัส เมื่อท่านได้ถูกถาม เกี่ยวกับการนี้ ท่านกล่าวว่า “ การงานจะถูกนำเสนอ ยังอัลลอฮฺ ในวันจันทร์และวันพฤหัส ดังนั้นฉันจึงชอบที่จะให้การงานของฉันถูกนำ เสนอขณะที่ฉันถือศีลอด” บันทึกโดย อัตติรมีซียฺ และท่านกล่าวว่าเป็นหะดีษหะซัน การให้เกียรติและ การมีความรักต่อท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ.ล.) ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ.ล.) เป็นผู้ที่สมควรจะ ได้รับการให้เกียรติ ยกย่อง เนื่องจากว่าท่านเป็นศาสดา ที่มีความสำคัญของโลก ในขณะเดียวกันท่านได้รับากรย่อย่อง จากผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมว่า เป็นผู้ที่มีความยิ่งใหญ่ คนหนึ่งของโลก ดังนั้นหน้าที่ของมุสลิม ก็จำเป็นจะต้อง ให้เกียรติยกย่องท่าน รำลึกคุณงามความดีของท่าน อัลลอฮฺ (ซ.บ.) และท่านนบี (ซ.ล.) ได้ให้แบบอย่าง ในการให้เกียรติยกย่องท่านไว้ในหลายรูปแบบด้วยกันคือ
การย่อย่องวันเกิดของท่านนบีมุฮัมหมัด
1. การดำเนินตาม การปฏิบัติในวันเกิดของท่าน คือ การถือศีลอดในวันจันทร์
2. การมีความรักต่อท่านร่อซูล (ซ.ล.) เพราะการมีความรักต่อท่านร่อซูลนั้นคือ สิ่งที่แสดงถึงการมีอีมาน ของเขา
3. การกล่าวซอลาวาตต่อท่านนบี (ซ.ล.) ส่วนหนึ่งจากการให้เกียรติยกย่องและมีความรักต่อท่านนบีคือ การกล่าวซอลาวาตต่อท่านนบี (ซ.ล.)
4. การปฏิบัติตามคำสั่งใช้และการละเว้นที่จะปฎิบัติตามคำสั่งห้ามของท่านนบี
5. ดำเนินตามแบบอย่างของท่านนบี (ซ.ล.)
การจัดงานเมาลิด
มุสลิม ในบางสังคมได้แสดงออกถึงความรัก การให้เกียรติยกย่อง ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ.ล.) โดยจัดงานคล้ายวันเกิดของท่านขึ้น ณ ที่นี้สมควรที่จะรู้ถึงประวัติ การจัดงานเมาลิดพอสังเขป
การจัดงานเมาลิดนบี เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก ในโลกที่ประเทศอียิปต์ เมื่อปี ฮ.ศ. 362 ซึ่งขณะนั้นวงศ์ฟาตีมียฺ ซีอะฮฺ อิสมาอีลียะฮฺ เป็นผู้ปกครองอียิปต์ และได้สถาปนาอาณาจักรฟาตีมียขึ้น ผู้ปกครองขณะนั้นได้แก่ คลลีฟะฮฺ อัลมุอิชลิดีนิลลาฮฺ อัลฟาตีมีย
บรรยากาศของงานเมาลิดสมัย นั้น เต็มไปด้วยความครึกครื้น มีการประดับประดาสถานที่ต่างๆ ด้วยแสงสี มีการชุมนุมกัน และอ่านอัลกรุอ่านที่มัสญิด อ่านโคลง กลอน บทสุดดี และชีวประวัติของท่านนบี โดยผู้ที่มีเสียงดี พร้อมกันนั้น ก็มีการจัดสถานที่สำหรับแจกจ่ายทานบริจาคแก่ผู้ที่ยากจนขัดสน ในระยะหลังๆ มานี้ ไม่มีการจัดงานเมาลิดอย่าง เอิกเริกเช่นก่อน นอกจากการจัดของชาวฎอริกัต เมื่อถึงวันที่ 12 รอบีอุลเอาวัล รัฐบาลประกาศให้หยุดราชการ 1 วัน ภายหลังเวลามักริบ หรือ อีชาอฺ ก็จะมีอีมานประจำมัสญิดต่างๆ หรืออาจารย์ผู้มีชื่อเสียงแสดงปาฐกถา เกี่ยวกับชีวประวัติของท่าน มีปีหนึ่งทางการได้จัดงานรำลึกถึงเกียรติประวัติของ อัลบูซีรียฺ ผู้ประพันธ์บทกลอน “อัลบุรดะฮฺ” ซึ่งบรรยายถึงประวัติของท่านนบี โดยได้จัดให้ศิลปินผู้มีน้ำเสียงดีอ่านคำกลอนบุรดะฮฺ เป็นท่วงทำนอง เคล้ากับเสียงดนตรี
แหล่งอ้างอิง มุนีร สมศักดิ์ มูหะหมัด. (2548) .วันและเดือนที่สำคัญในอิสลาม. กรุงเทพฯ:สมาคมนักเรียนเก่าศาสนวิทยา









ภาพงานเมาลิดกลาง

ร้านขายของภายในงานเมาลิดกลาง

รางวัลในการประกวดกิจกรรมต่างๆ ที่จัดขึ้นภายในงานเมาลิดกลาง
ภาพประกอบ จากงานเมาลิดกลางแห่งประเทศไทย
การถือศีลอด
การถือศีลอด มาจากภาษาอาหรับว่า 'อัศ-เศาม' หรือ 'อัศ-ศิยาม' ในทางภาษาหมายถึง การละ
การงด การระงับยับยั้ง การควบคุม ครองตน เช่น การละความชั่ว ยับยั้ง สิ่งต่างๆ ที่เกิดจากอารมณ์ฝ่ายต่ำ ส่วนความหมายในทางศาสนา หมายถึง การละเว้นการบริโภคอาหาร เครื่องดื่ม การร่วมสังวาส
ระหว่างรุ่งสาง จนตะวันลับขอบฟ้า งดเว้นการพูดจาโกหก เหลวไหล ไร้สาระ เว้นจากการประพฤติชั่ว ทั้งโดยลับ และเปิดเผย ถือปฏิบัติตามแบบอย่างที่ท่านศาสดามุฮัมหมัด (ซ .ล.) ได้ทรงกำหนดไว้โดยให้ควบคุม พร้อมทั้งมือ เท้า หู ตา ใจ ลิ้น และอวัยวะทุกส่วน มิให้ใช้ไปในทางไร้สาระ โองการในอัลกุรอาน มีปรากฏว่า “โอ้ บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย การถือศีลอดนั้น ได้ถูกกำหนดแก่สูเจ้าดั่งที่ได้ถูกกำหนด แก่เขาเหล่านั้น ก่อนหน้าสู เจ้ามาแล้ว เพื่อว่าสูเจ้าจะได้สำรวมตนจากความชั่ว” จากโองการนี้แสดงว่า การถือศีลอดนั้น ได้เคยมีมาแล้วใน ประชาชาติก่อนๆ เราได้ทราบจากประวัติศาสตร์ว่า ชาวอียิปต์โบราณนิยมถือศีลอด กันมาเป็นประจำ ต่อมาแพร่หลาย ไปยัง ชาวกรีกและโรมัน โดยเฉพาะชาวกรีก ยังได้นำการถือศีลอดนี้ ไปใช้เป็นบทบังคับสตรี และชาวอินเดียยังคงนิยม การถือศีลอด ตราบเท่าทุกวันนี้ ท่านนบีมูซาศาสดาของ ชาวยิวได้ถือศีลอดเป็นเวลา 40 วัน ชาวยิวถือศีลอดเป็นเวลา 1 สัปดาห์ เพื่อระลึกถึงวันที่กรุงยะรุสลิม (เยรูซาเล็ม) ได้ถูกทำลายโดยกษัตริย์บาบิโลน ก่อน ค.ศ. 587 และถูกทำลายซ้ำ โดยชาวโรมันใน ค.ศ.70 การถือศีลอดได้ปฏิบัติกันมาในรูปแบบต่างๆ กัน บางพวกอดอาหารตลอดวัน บางพวกงดเพียงครึ่งวัน บางพวกบริโภคอาหารหนัก แต่ไม่ดื่มน้ำหรือเครื่องดื่มอื่นๆ และบางพวกงดบริโภคเนื้อสัตว์ แต่สำหรับอิสลาม การถือศีลอด หมายถึง การอดอาหารเครื่องดื่ม การเสพเมถุน อดกลั้นทำความชั่วทุกชนิด แม้เพียงนึกคิด ตั้งแต่รุ่งสางจนตะวันลับขอบฟ้าในเดือนรอมฎอน (เดือนที่ 9 ตามปฏิทินทางจันทรคติของอิสลาม) ของทุกปี เป็นเวลาประมาณ 29 ถึง 30 วัน บทบัญญัตินี้ ถูกกำหนดบังคับใช้สำหรับมุสลิมทุกคน ซึ่งถูกบัญญัติ ใน เดือน ซะอบาน (เดือนที่ 8) หลังจาก ท่านศาสดามุฮัมหมัด (ซ.ล.) อพยพจาก มักกะฮสู่มาดีนะฮได้ 2 ปี (ปีฮิจเราฮที่ 2) และได้ ปฏิบัติกันมาจนตราบเท่า ทุกวันนี้ การถือศีลอดเป็นการทดลอง และฝึกหัดร่างกาย ให้รู้จักอดกลั้น ให้รู้จักสภาพอันแท้จริงของผู้ที่อัตคัดขัดสน ทำให้เกิดความเห็นอกเห็นใจกัน เป็นการ ขัดเกลาจิตใจ ให้บริสุทธิ์ผ่องแผ้วพ้นจากอำนาจ ใฝ่ต่ำ และมีคุณธรรม

กฎเกณฑ์ในการถือศีลอดและหลักปฏิบัติ
1. ผู้ถือศีลอด มุสลิมที่บรรลุศาสนภาวะ คือมีอายุ 15 ปี และหญิงที่เริ่มมีประจำเดือนทุกคนต้องถือศีลอด ถ้าจะแบ่งประเภทของผู้ถือศีลอดโดยทั่วไป พอจะแบ่งได้ดังนี้
- ผู้ต้องถือ ได้แก่ผู้มีร่างกายสมบูรณ์ ไม่เจ็บป่วย ไม่อยู่ในระหว่างการเดินทาง
- ผู้ได้รับการผ่อนผัน เมื่อมีเหตุการณ์เฉพาะหน้าอันได้แก่ ผู้ที่เจ็บไข้ได้ป่วย จะไม่สามารถ ถือศีลอดได้หรืออยู่ในระหว่าง เดินทาง แต่เมื่อเหตุการณ์เฉพาะหน้านั้นหมดไป คือ หายป่วย หรือกลับจากเดินทางแล้ว ก็ต้องถือใช้ให้ครบตาม จำนวนวันที่ขาดไป โดยจะถือชดใช้ในวันใด เดือนไหน ในรอบปีนั้นก็ได้
- ผู้ได้รับการยกเว้นคือ
1. คนชรา
2. คนป่วยเรื้อรังที่แพทย์วินิจฉัยว่ารักษาไม่หาย
3. หญิงมีครรภ์แก่และแม่ลูกอ่อนที่ให้นมทารก ซึ่งเกรงว่าการถือศีลอดอาจเป็นอันตรายแก่ทารก
4. บุคคลที่สุขภาพไม่สมบูรณ์ ซึ่งเมื่อเขาถือศีลอดจะเป็นภัยต่อสุขภาพเสมอ
5. บุคคล ที่ทำงานหนัก เช่น ในเหมืองหรืองานอื่นๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจและศรัทธาของเขาเองว่าจะสามารถถือศีลอดได้หรือไม่ โดยไม่ต้องลวงตัวเอง บุคคลทั้ง 5 ประเภทนี้ ได้รับการยกเว้นโดยไม่ต้องถือเลย แต่ต้องชดใช้ด้วยการจ่าย ซะกาต (อาหาร) เป็นทานแก่คนยากจน ด้วยอาหารที่มีคุณภาพตามที่ตนใช้บริโภคตลอดทั้งเดือน หรือจะจ่ายเป็นค่าอาหาร แทนวันต่อวัน โดยการบริจาคทานให้ต่างบุคคลก็ได้ 'อัลลอฮฺ ทรงยกเว้นการถือศีลอด และนมาซส่านหนึ่ง ให้แก่ผู้เดินทาง และยกเว้นการถือศีลอดสำหรับหญิงมีครรภ์แก่ และที่ให้นมทารก' (อัส-สุนัน ของ อิมามอะหมัด)
2. กำหนดเวลาการถือศีลอด ข้อนี้มีปรากฏอย่างชัดเจนในอัลกุรอาน'จง กินและจงดื่มจนกระทั่งความขาว ของกลางวันกระจ่างจากความดำของกลางคืนในรุ่งสาง แล้วจงถือศีลอดจนกระทั่ง พลบค่ำ' กล่าว คือ ให้เริ่มถือศีลอดตั้งแต่แสงอรุณขึ้น จนตะวันลับฟ้าในช่วง ดังกล่าว นี้ห้ามการกินการดื่มทุกประเภท ห้ามร่วมสังฆวาส แต่นอกเหนือเวลาดังกล่าวนี้ ก็ไม่เป็นที่ห้าม
ดังนั้นจงถือศีลอด และจงแก้การถือศีลอด และจงตื่นและจงนอนและจงถือศีลอด (อาสา) เดือนหนึ่งเพียง 3 วัน เพราะกุศลกรรมนี้ ได้รับการตอบแทน 10 เท่าและนี่ก็เสมือนการถือศีลอดทุกๆ วัน ฉันกล่าวว่า ฉันทนได้มากกว่านี้ ท่านกล่าว ถ้าเช่นนั้น จงถือศีลอดวันหนึ่งและจงอย่าถือศีลอดในอีกวันหนึ่ง (วันเว้นวัน) นี่เป็นการถือศีลอดของนบีดาวูด (อ.ล.) และนี่เป็นการถือศีลอดโดยอาสาที่ดียิ่ง ฉันกล่าวว่า ฉันสามารถทนได้มากกว่านั้น ท่านกล่าวว่า ไม่มีอะไรจะดีกว่านี้อีกแล้ว' (อัลบุคอรี 30:56) จากรายงานนี้ แสดว่าท่านศาสดาสนับสนุนให้ถือศีลอดโดยอาสา เพียงเดือนละ 3 วันเท่านั้น มิให้ถือศีลอดทุกๆ วันตลอดไป และมีรายงานอื่นว่าท่านแนะนำให้ถือศีลอดดังนี้
1. ถือศีลอด 6 วัน ในเดือนเซาวาลต่อจากการถือศีลอดภาคบังคับในเดือนรอมฎอน
2. วันขึ้น 9-10 ค่ำเดือนมุหัรรอม
3. ถือได้หลายๆ วันในเดือนซะอบาน
4. วันจันทร์ วันพฤหัสบดี ทุกสัปดาห์
5. วันขึ้น 13-14-15 ค่ำของทุกเดือน
6. วันเว้นวัน
วันห้ามถือศีลอด
1. วันอีดทั้ง 2 คือ วันอีดิ้ลฟิตรและอีดิ้ลอัฎฮา
2. วันตัซรีก คือวันที่ 11-12-13 เดือนฮัจย์
3. การเจาะจงถือเฉพาะวันศุกร์เท่านั้น
4. ถือตลอดปี
5. วัน ครบรอบการถือศีลอดภาคบังคับ (อีดิ้ลฟิตร) เมื่อวันแห่งการถือศีลอดได้สิ้นสุดแล้ว รุ่งขึ้นคือวันที่ 1 เดือนเซาวาล เป็นวัน 'อีด' ห้ามถือศีลอด ในวันนี้ เพราะเป็นวันแห่งการรื่นเริง ให้ทุกคนทั้งหญิงและเด็กๆ อาบน้ำแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าที่ดีที่สุดเท่าที่จะหาได้ แล้วไปชุมนุมกัน ณ ที่ที่กำหนดไว้โดยพร้อมเพรียงกัน มุสลิมที่อยู่ในฐานะเหลือกินเหลือใช้ ให้บริจาคทานฟิฏเราะฮ์ ด้วยอาหารพื้นเมืองที่ผู้บริจาคอาศัยอยู่ เช่น ข้าวสาร เป็นจำนวน 1 ศออ์ แก่คนยากจน

3. สิ่งที่ทำให้เสียศีลอด
1. กิน ดื่ม สูบ เสพ หรือนัดถ์ โดยเจตนา
2. การร่วมประเวณี ในระยะเวลาที่ถือศีลอด
3. มีประจำเดือน
4. คลอดบุตร
5. เจตนาทำให้อสุจิเคลื่อนด้วยวิธีใดๆ
4. ประเภทของศีลอด
1. ศีลอดภาคบังคับ คือ ถือศีลอดในเดือนรอมฎอน (เดือนที่ 9 ตามปฏิทินทางจันทรคติของอิสลาม) เป็นเวลาประมาณ 29 หรือ 30 วันโดยกำหนดวันแรกและวันสุดท้ายด้วยการปรากฏของดวงจันทร์ เสี้ยวข้างขึ้น ( Newmoon) เป็นหลักการ ถือศีลอดประเภทนี้เป็นบทบังคับแก่มุสลิมทุกคนที่ บรรลุศาสนภาวะแล้ว ทั้งนี้ นอกเหนือจากบุคคลที่ได้รับการยกเว้นผ่อนผันดังกล่าวข้างต้น ซึ่งบุคคลประเภทนี้จะต้องถือศีลอดชดใช้ในภายหลัง เมื่อพ้นภาระจำเป็นนั้นแล้วเท่าจำนวนวันที่ขาดไป โดยจะถือใช้ให้ครบจนกระทั่งผ่านรอบปี จะต้องเสียทั้งค่าปรับและถือใช้ด้วยเสียค่าปรับด้วย การให้อาหารแก่คนยากจนหนึ่งวันต่อหนึ่ง คน เช่นถ้าขาด 10 วัน ต้องเลี้ยง 10 คน ในกรณีที่ ผู้ใดเจตนาฝ่าฝืนทำให้เสียศีลอดด้วยการร่วมประเวณี ในเวลาที่กำลังถือศีลอดจะต้องชดใช้ ปรับโทษดังนี้ ปล่อยทาสเป็นเชลย 1 คน ถ้าไม่มีให้ถือศีลอด 2 เดือน ติดต่อกัน ถ้าขาดแม้เพียงวันเดียวต้องเริ่มต้นนับ 1 ใหม่ ถ้าทำไม่ได้ ้ให้บริจาคอาหารแก่คนยากจน 60 คน อาหารที่จะให้ต้องมีคุณภาพไม่เลว หรือดีกว่า ที่ตนใช้บริโภคประจำวัน
2. การถือศีลอดชดเชย นอกเหนือจากการถือศีลอดใช้ตามที่ได้กล่าว แล้วนั้นยังมีการถือศีลอดชดเชย อีกประเภทหนึ่งต่อกิจ หนึ่งกิจใดซึ่งผู้นั้นไม่สามารถกระทำได้ในเวลานั้นๆ เช่นในกรณีที่ ผู้หนึ่งไม่สามารถปฏิบัติตามวินัยต่างๆ ของเอียะห์รามให้ครบถ้วนเมื่อเวลาประกอบพิธีฮัจญ์ได้ ก็ให้ผู้นั้นถือศีลอดชดเชย 3 วัน ทั้งนี้ในเงื่อนไขที่ผู้นั้นไม่สามารถบริจาคทา หรือพลีกรรมสัตว์ ได้ตามกำหนด
3. การถือศีลอดเพื่อลบล้างความผิด ตามที่ปรากฏในอัลกุรอาน มีดังนี้ เมื่อมุสลิมได้ฆ่ามุสลิมอีกคนหนึ่ง โดยเข้าใจผิดให้ปล่อยทาสเป็นอิสระ 1 คน แต่ถ้าไม่สามารถจะไถ่ความผิดโดยการปล่อยทาสได้ก็ให้ ถือศีลอดแทนเป็นเวลา 2 เดือนติดๆ กัน และผู้ใดฆ่าผู้ศรัทธาโดยพลั้งผิด
ดังนั้น ผู้ฆ่าต้องให้มีการปล่อย ทาสหรือทาสผู้ศรัทธาคนหนึ่งเป็นไท และต้องจ่าย ค่าทำขวัญ แก่ครอบครัวของเขา (ผู้ตาย) เว้นแต่ที่ พวกเขายกเป็นทาน ไม่เอาความแล้วถ้าผู้ตายหาไม่พบ คือไม่มีทาสหรือไม่มีเงินซื้อ เช่น ในสมัยนี้ หรือไม่มีเงินจ่ายค่าทำขวัญ เขาต้องถือศีลอด 2 เดือนติดต่อกัน ตามวินัยในเดือนรอมฎอน '(อัลกุรอาน 2:92) ถือศีลอดลบล้างการหย่าแบบซิฮาร เป็นเวลา 2 เดือน การซิฮารนี้เป็นประเพณีเดิม ของชาวอาหรับ ในสมัยก่อน และเมื่อเริ่มต้นเผยแพร่ศาสนาอิสลาม โดยเรียกภรรยาของตนว่า เป็นเสมือนมารดาของตน เป็นการหย่าไปในเชิงแล้วก็ไม่ร่วมสังฆวาส กับนางในขณะเดียวกันนางไม่มีสิทธิ์ หลุดพ้นจากการเป็นภรรยาโดยแท้จริงไปได้ นางต้องเป็นภรรยาในนามถูกทรมานและจำบ้าน อยู่เช่นนี้ อิสลามได้เลิกระบอบนี้โดยสิ้นเชิง การถือศีลอดประเภทนี้จึงมีในสมัยโน้นเท่านั้น (ดูการหย่า) ถือศีลอดลบล้างความผิดเป็นเวลา 3 วันติดๆ กันเมื่อผู้หนึ่งผู้ใดสาบาน ที่จะไม่กระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด ที่ถูกต้องและชอบธรรมในกรณีที่ผู้นั้นไม่สามารถ ปล่อยทาสให้เป็นอิสระหรือเลี้ยงคนยากจนถึง 10 คน ได้ ' อัลลอฮฺไม่ทรงยึดเอาตามคำไร้สาระ (ไม่เจตนา)ในการสาบานของสูเจ้าแต่อัลลอฮฺทรงยึดเอาจากสูเจ้า ที่สูเจ้าได้ผูกพันธะสาบานไว้ (โดยเจตนา) ถึงการไถ่โทษ ของเขาคือการให้อาหารคนขัดสนสิบคน ตามปริมาณเฉลี่ยที่สูเจ้าให้อาหารแกครอบครัวของสูเจ้า หรือให้เครื่องนุ่งห่มแก่พวกเขา (สิบคน) หรือการปล่อยทาส หนึ่งคนถ้าผู้ใดหาไม่พบไม่มีความสามารถ ที่จะปฏิบัติตาม นั้นได้ เขาต้องถือศีลอดสามวัน นี้คือ การไถ่โทษคำสาบานของสูเจ้า เมื่อสูเจ้าได้สาบาน '( อัลกุรอาน 5:89) ถือศีลอดลบล้างความผิดตามคำพิพากษาของผู้เที่ยงธรรม 2 คน เมื่อผู้นั้นล่าสัตว์ ขณะที่กำลังอยู่ ในระหว่างการประกอบพิธีฮัจญ์ ในเงื่อนไขที่ว่าผู้นั้นไม่สามารถให้อาหารแก่คนยากคนจนได้ ' บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ยจงอย่าฆ่าด้วยการล่าสัตว์ป่าขณะที่สูเจ้ายังครองเอียะ ห์ราม และผู้ใดในหมู่สูเจ้า ฆ่ามันโดยเจตนา การชดเชยของมันคือเยี่ยงที่เขาฆ่า จากปศุสัตว์ตามที่ผู้เที่ยงธรรมสองคนจากหมู่สู เป็นสิ่งพลีให้นำยังอัลกะอบะฮ เพื่อเชือดและแจกจ่ายคนจน หรือการไถ่โทษ เจ้าตัดสินนั้นเขาต้องให้อาหารแก่คนขัดสน หรือเยี่ยงนั้นด้วยการถือศีลอด ' ( อัลกุรอาน 5:89)
4. การถือศีลอดโดยอาสา ในหลักการทั้ง 4 ของอิสลามคือ การดำรงนมาซ (การละหมาด) ซะกาต (การบริจาค) การถือศีลอดไปประกอบพิธีฮัจญ์นั้น มีทั้งที่เป็นการบังคับ (ฟัรฎู) และทั้งที่อนุญาตให้กระทำโดยอาสา (นัฟล) แต่ในการถือศีลอดโดยอาสานั้น มีข้อห้ามอยู่บ้างบางประการ ดังรายงานต่อไปนี้ 'ท่านอิบนุอุมัร กล่าวว่า ท่านรสูลอูลลอฮฺ ทราบ ว่าฉันจะตกลงใจถือศีลอด ในเวลากลางวันและตื่นในเวลากลางคืนตราบเท่าที่ฉันยังมีชีวิตอยู่ (เมื่อถูกสอบถามฉันรับว่าฉัน ได้กล่าวเช่นนั้นจริงท่านรสูลอูลลอฮฺกล่าวว่าท่านจะทนเช่นนี้ไม่ได้
ภาพการละศีลอดร่วมกัน

อาหารสำหรับการละศีลอดร่วมกัน โดยมีขนมหวาน(ภาพทางซ้าย) ละศีลอดด้วยอินทผาลัม

การละศีลอดร่วมกันของมุสลิมีน (ผู้ชาย
ภาพการละศีลอดร่วมกัน

การฟังบรรยายธรรมก่อนกิจกรรมการละศีลอดร่วมกัน

การละศีลอดร่วมกันของมุสลิมะห์ (ผู้หญิง)





วันอีด
วัน ตรุษ ในอิสลามมี 2 วันคือ วันอีดฟิฎร และ วันอีดอัฎฮา จะตรงกับวันที่ 1 เดือนเชาวาล และวันอีดอัฎฮาจะตรงกับวันที่ 10 ของเดือนซุลฮิจญะฮ วันตรุษทั้ง 2 นี้ อัลลอฮได้ทรงกำหนดให้เป็นวัน รื่นเริงของมุสลิม ดังหะดิษที่รายงาน โดยท่านนะซาอียจากท่านอนัส อิบนิมาลิก รฎิฯ กล่าวว่า ท่านร่อซูล (ซ.ล.) ได้เดินทางมาถึงเมืองมะดีนะฮ ก็พบว่าชาวเมืองมีวันรื่นเริงอยู่ 2 วัน ท่านร่อซูล(ซ.ล.) จึงถามว่า วันทั้ง 2 นี้เป็นวันอะไร พวกเขาตอบว่า พวกเราได้เคยรื่นเริงสนุกสนานกันใน 2 วันนี้ ในสยัมญาฮิลียะฮ. ท่านร่อซูลจึงกล่าวว่า “ แท้จริงอัลลอฮฺ ได้ทรงเปลี่ยนวันทั้ง 2 ให้แก่พวกท่าน ด้วยวันที่ดีกว่า คือ วันอีดฟิฎร และวันอีดอัฎฮา” แม้ว่าวันอีดทั้ง 2 จะเป็นวันรื่นเริงก็ตาม แต่ท่านนบีก็ได้กำหนดแบบอย่างในการปฏิบัติอิบาดะฮฺ ต่ออัลลอฮฺไว้ด้วยคือ การกล่าวตักบรี การละหมาดอีด และ การรื่นเริงนั้น จะต้องอยู่ในขอบข่ายของศาสนบัญญัติ

การปฏิบัติตนในวันอีด
1. ห้ามถือศีลอดในวันอีดอมัร อิบนุ อัล – ศ็อฏฏอบ กล่าวในคุฎบะฮดีดว่า “ โอ้ พวกท่านทั้งหลายแท้จริงท่านรอซูล (ซ.ล.) ได้ห้ามพวกท่านไม่ให้ถือศีลอดในสองวันอีดวันแรกเป็นวันที่พวกท่านออกจากการ ถือศีลอดและอีกวันหนึ่งเป็นวันที่พวกท่านกินเนื้อกรุบาน
2. กล่าวตักบีรฺ ตักบีรฺเป็นคํากล่าวหลักของวันอีดทั้งสอง ดังนั้นจึงต้องกล่าวตักบีรฺให้มากๆ ในคืนวันอีดทั้งสอง ทั้งที่บ้าน ในมัสญิด และตามถนนหนทาง เพื่อเป็นการป่าวประกาศไปทั่วทุกซอกซอ ซึ่งชัยชนะและความต้อนรับการมาเยือนของวันอีด
3.จ่ายซะกาตฟิฏเราะฮฺและเชือดสัตว์กุรบาน
4.อาบน้ำชําระร่างกาย
ซุนนะฮฺให้อาบน้ำชําระร่างกายช่วงเช้าตรู่ของวันอีด และขจัดสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ออกจากร่างกาย ( เช่น ขจัดขนลับ ตัดเล็บ ตกแต่งหนวด และทรงผมเป็นต้น)
5. พรมน้ำาหอม ควรพรมน้ำหอมให้มีกลิ่นฟุ้งตามร่างกาย ดังที่อิบนุอุมัรฺ ได้ปฏิบัติไว้ส่วนสตรีไม่ส่งเสริมให้พรม น้ำหอมที่มีกลิ่นฟุ้งช่วงที่เดินทางสู่สนามละหมาด เพื่อป้องกันฟิตนะฮฺ หรือความเสื่อมเสียที่ อาจเกิดขึ้น กับนาง
6. แต่งกายด้วยอาภรณ์ที่สวยงามและดูดีที่สุด แต่งกายด้วยอาภรณ์ที่ดีที่สุด และใหม่ที่สุดเท่าที่จะหาได้
7. รับประทานก่อนละหมาด
8. เดินทางสู่สนามละหมาดเวลาออกสู่สนามละหมาด ท่านนบี(ซ.ล.) กล่าวในคุฏบะฮฺวันอีดิลอัฎฮาว่า 'แท้จริงสิ่งแรกที่ พวกเราต้องปฏิบัติในวันนี้คือ ละหมาดอีด
9. ละหมาดอีด การละหมาดวันอีดเป็นบทบัญญัติและเอกลักษณ์อย่างหนึ่งในศาสนาอิสลาม ดังจะเห็น ได้จากการปฏิบัติเป็นประจําของท่านนบี และยังกําชับบรรดาเศาะฮาบะฮฺ ให้ออกสู่สนามละหมาดอย่างพร้อมเพรียงกัน แม้กระทั่งทาสหญิง สตรีสาวสวย สตรีที่มีประจําเดือนและเด็กๆ ก็ยัง ถูกสั่งกําชับให้พา พวกเขาออกสนามละหมาด เพื่อร่วมเป็นสักขีพยานและตักตวงความสุขและสนุกสนาน อย่างพร้อมหน้ากัน และต้องมีการละหมาดแบบญะมาอะฮฺเท่านั้น

อีดิลฟิฎริ
อีดิลฟิฎรเป็นวันแรกของการออกจากเทศกาลถือศีลอดของชาวมุสลิม (วันที่ 1 ของเดือนเชาวาล ) เป็นวันแห่งรางวัลและการตอบแทนสำหรับผู้ที่ผ่านการทดสอบประจำปีในเดือนรอมมา ฎอน ด้วยการบังคับ ตัวเองด้วยจิตศรัทธาที่มุ่งมั่น จากการกินดื่ม อยู่ในความสำรวมตนลดละกิเลสตัณหา และยืนฟังการอ่าน อัลกรุอานในละหมาดตะรอวีหฺเป็นเวลาเกือบหนึ่งชั่วโมงเต็มตลอดค่ำคืนของเดือน รอมมาฎอน
พร้อมทั้งฝึกฝนด้านความโอบอ้อมอารีและความมีจิตเมตตาและกรุณาต่อผู้ที่ด้อย โอกาสและอ่อนแอกว่า ในช่วงเดือนรอมาฎอนเป็นเวลาหนึ่งเดือนเต็ม เพื่อขัดเกลาตนเองทั้งกายใจ ดังนั้นหลังจากที่พวกเขา สำเร็จออกจากเบ้าหลอมแห่งการทดสอบพร้อมกับจิตสำนึกแห่งมนุษยธรรมที่เปี่ยม ล้น อิสลาม จึงประกาศให้วันนี้เป็นวันอีด (วันแห่งเทศกาลการเฉลิมฉลอง ) ที่ยิ่งใหญ่ของพวกเขาพร้อม กับสั่งให้มีการบริจาคทานแก่บรรดาผู้ที่ขัดสน ซึ่งเป็นที่รู้จักในนาม 'ซะกาตฟิฎเราะฮฺ' ควบคู่ไปกับการละหมาดอีด อัลลอฮได้ตรัสว่า ความว่า “แท้จริง ย่อมประสบความสำเร็จแล้ว นั่นคือผู้ที่ขัดเกลาตัวเองให้บริสุทธิ์ (ด้วยการถือศีลอดและบริจาคทาน) และกล่าว(สรรเสริญ) พระนามของอัลลอฮฺ พร้อมทั้งดำรงการละหมาด(อีดิลฟิฏร)


เมื่ออีดิลฟิฏริมาเยือน 6 ขั้นตอน
1. เปลี่ยนบ้านให้สดใส ตกแต่งบ้านเรือน ที่พัก ที่ทำงาน หรือช่วยเพื่อนบ้าน และครอบครัวตกแต่งบ้านเรือน ของพวกเขา ด้วยความหวังที่ว่าวันอีด คือ วันพิเศษ
2. จับจ่ายเพื่อพี่น้อง ช่วงเวลาเหมาะสมในการจับจ่ายของขวัญเพื่อคนที่คุณรัก หรือเพื่อนฝูง หรือคนที่ต้องการ สร้างสัมพันธ์ที่ดีกับพวกเขา แม้กระทั่งคนที่เคยบาดหมางกัน แค่เพียงพบปะกันด้วยรอยยิ้ม ก็ถือว่าเป็นการบริจาคเลย (พึงสงวนการยิ้มแก่ต่างเพศเพื่อกันการเกิดฟิตนะฮฺ) เราถือโอกาส แห่งความจำเริญนี้ สานสัมพันธ์แห่งมิตรภาพของความเป็นพี่น้องมุสลิมจำได้หรือไม่ มีหะดีษที่กล่าวว่า “ความศรัทธาของคนๆ หนึ่ง จะยังไม่สมบูรณ์ หากเขายังไม่รักพี่น้องมุสลิมเสมือนรักตัวของเขาเอง” ไม่ใช่เรื่องยาก หากไม่สามารถ หาซื้อของวัญให้กันได้ด้วยหลายปัจจัย หาบัตรอวยพร หรือการกล่าวดุอาอฺแก่กันอย่างจริงใจ การขอมาอัฟ (ขอโทษ) กันก็ไม่มีอะไรเทียบได้
ภาพรายออีดิลฟิฎริ


การเฉลิมฉลองในวันตรุษอีดิลฟิฎริ



การละหมาดในวันตรุษอีดิลฟิฎริร่วมกันที่มัสยิดกลางปัตตานี
อีดิลอัฎฮา
อีดิลอัฎฮา คือ วันที่ 10 ของเดือนซุลหิจญะฮฺ ซึ่งเป็นวันที่ถัดจากวันอะเราะฟะฮฺหนึ่งวัน และเป็นวันส่งท้ายของสิบวันแรกของเดือนซุลหิจญะฮฺ ที่การปฏิบัติศาสนกิจในวันดังกล่าว จะมีความประเสริฐที่สุด และอัลลอฮจะพึงพอใจที่สุด เพราะเป็นวันหัจญ์อักบัร (หัจญ์ใหญ่) นบีมุฮัมหมัด (ซ.ล.) กล่าวว่า “ไม่มีวันใดๆ ที่การปฏิบัติ (ความดีและศาสนกิจ) จะเป็นที่ชอบใจของอัลลอฮฺมากกว่าการปฏิบัติในสิบวัน (แรกของเดือนซุลหิจญะฮฺ ” วันที่ประเสริฐที่สุด ณ อัลลอฮฺ คือ วันนะหัร (วันอีดิลอัฎฮา) “ วันนะหัรฺคือวันหัจญ์อักบัรฺ ” ถึงแม้ว่าอีดิลอัฎฮา (ซึ่งเป็นวันอีดที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในรอบปี และยิ่งใหญ่กว่าวันอีดิลฟิฏรฺ) อิสลามจึงได้ผนวกเอาวันที่ 9 ซุลหิจญะฮ หรือวันอะเราะฟะฮ และวันที่ 11-13 ซุลหิจญะฮ หรือวันตัชุรีก เข้ากับวันอีดิลอัฎฮาด้วย ดังนั้นเทศกาลวันอีดิลอัฎฮาจึงมีทั้งหมด 5 วัน ด้วยกัน ท่านบี (ซ.ล) กล่าวว่า “วันอะเราะฟะฮ วันเชือดกรุบาน (วันอีดิลอัฎฮา ) และวันตัชรีกทั้งสามเป็นวันดีของเราชาวมุสลิม เป็นวันแห่งการกินและดื่มเพียงแต่อิสลาม ส่งเสริมให้ชาวมุสลิมที่ไม่ได้ทำหัจญ์ถือศีลอดใน วันอะเราะฟะฮฺ นอกจากบรรดาฮุจญาต ที่กำลังทำพิธีกรรมอยู่ ณ ทุ่งอะเราะฟะฮ เท่านั้นที่ส่งเสริมให้กินดื่มในวันนี้ เพื่อที่จะได้มีแรง ในการปฎิบัติศาสนกิจอันหนักหน่วงในพิธีกรรมหัจญ์
การเชือดสัตว์กุรบาน
ส่ง เสริมให้บรรดาผู้ที่ มีความสามารถจัดเตรียมสัตว์ไว้เชือดกุรบาน หลังเสร็จจาก การละหมาดอีดแล้ว และอีกสามวันหลังจากนั้น ท่านนบี (ซ.ล.)ได้ กล่าวไว้ว่า “ผู้ใดที่มีความสามารถในการเชือดอุฎหิยะฮฺ (สัตว์กุรบาน) แต่เขาไม่กระทํา ก็จงอย่าเข้าใกล้ สนามละหมาดของฉัน” โดยมีข้อแม้ว่า นับตั้งแต่วันแรก ของเดือนซุลหิจญะฮฺ ไปจนเสร็จจากการเชือดกุรบาน ผู้ที่ประสงค์จะเชือดจะต้อง ไม่แตะต้องเส้นผม ขน และผิวหนังแต่อย่างใด หมายความว่าไม่อนุญาตให้ตัดผม โกนขนลับ ถอนขนรักแร้ และตัดเล็บ เป็นต้น
ภาพรายออีดิลฟิฎริ


การเฉลิมฉลองในวันตรุษอีดิลฟิฎริ



การละหมาดในวันตรุษอีดิลฟิฎริร่วมกันที่มัสยิดกลางปัตตานี
ประวัติความเป็นมาการทำฮัจญ์
ในยุคที่มีความขัดแย้ง ความเหลวแหลก และไร้ซึ่งสัจธรรมในกลุ่มอาหรับ อัลลอฮ์จึงได้ส่ง
ท่านศาสดามูฮัมหมัดมายังกลุ่มชนนี้โดยสั่งใช้ให้ท่านศาสดาประสานหัวใจของพวก เขา และทำให้พวกเขา เป็นประชาชาติเดียวกันด้วยการยึดมั่น และศรัทธาในพระเจ้าองค์เดียว มีคำปฏิญาณคำเดียวกัน และการปฏิบัติศาสนกิจอย่างเดียวกัน ด้วยหลักพื้นฐานของการสร้างสัมพันธไมตรีต่อกันระหว่างกลุ่มต่างๆ อัลลอฮ์จึงบัญญัติแก่ประชาติมูฮัมหมัดให้จัดทำศาสนกิจที่ร่วมกันด้วยการ ละหมาดญะมาอะห์ ละหมาดญุมอัต ละหมาดดีด การประกอบพิธีฮัจญ์ร่วมกัน และศาสนกิจอื่นๆ เพื่อเป็นการประสาน สัมพันธไมตรี ประสานหัวใจของประชาชาติมุสลิมให้เป็นหนึ่งเดียว การประกอบพิธีฮัจญ์ ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญ ในการสร้างมิตรภาพระหว่างมุสลิมทั่วโลก โดยการที่คนต่างเชื้อชาติ ต่างถิ่นฐาน ต่างวัฒนธรรม ต่างมารวมตัวกันและใช้ชีวิตในช่วงเวลาสั้นๆ ร่วมกันปฏิบัติศาสนกิจ โดยมีเป้าหมาย เดียวกัน เ มื่อมนุษย์ชาติต่างได้ยินการเรียกร้องแห่งพระเจ้าให้มาร่วมตัวกันยังจุดนัด หมาย อันเป็นจุดศูนย์กลางของโลก แม้ว่าจะต้องเผชิญความยากลำบากเพียงใด ด้วยความศรัทธาอันแรงกล้าแล้ว พวกเขาก็ไม่หวั่นที่จะเดินทาง มายังบัยติ้ลลอฮิ้ลฮารอมการบำเพ็ญหัจญ์นั้นไม่ได้ถูกเริ่มในสมัยของท่าน ศาสดามูฮัมหมัด แต่มันได้ถูกเริ่มมาตั้งแต่สมัยท่านศาสนาอิบรอฮีม ด้วยกับหัวใจของประชาชาติยุคก่อน อิสลาม ที่ถูกเปลี่ยนสีไปพร้อมกับกาลเวลา จึงทำให้ศาสนาที่ถูกประทานลงมายังศาสดาอิบรอฮีม มีการบิดเบือนและขัดต่อ บัญญัติแห่งอัลลอฮ์ แน่นอนอาหรับในยุคญาฮิลียะห์ได้เข้าร่วมประกอบพิธีฮัจญ์ซึ่ง มีสิ่งที่ขัด ต่อบัญญัติของศาสดาอิบรอฮีม ปนอยู่มากมาย เมื่อยุคอิสลามได้มาถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ จึงเกิดขึ้น สิ่งที่ไม่ถูกเรียกว่าศาสนาอันเป็นสิ่งที่ผิดต่อหลักการก็ได้ถูกขจัดออกไปใน เรื่องของพิธีฮัจญ์ และศาสนกิจอื่นๆ และเป็นเรื่องที่ได้รับการยืนยันจากอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ว่าศาสนาอิสลามนั้นเป็นศาสนา ที่เที่ยงแท้อันเป็นแนวทางที่สืบทอดมาจากศาสดาอิบรอฮีม
การประกอบพิธีฮัจญ์ที่ มักกะห์
อัลลอฮ์ ทรงเลือกให้มักกะห์และบริเวณรอบมักกะห์เป็นสถานที่ประกอบพิธีฮัจญ์ เนื่องด้วยกะบะห์ซึ่ง ตั้งอยู่ใจกลางมักกะห์ ซึ่งเป็นศูนย์กลางของพื้นโลกเป็นใจกลางของทุกทวีป ซึ่งสะดวกแก่มนุษย์ชาติ ที่จะเดินทางมา และแน่นอนกะบะห์เป็นมัสยิดแห่งแรกของโลกที่ถูกสร้างขึ้น อีกทั้งยังเป็นสถานที่ทาง ประวัติศาสตร์ ของบรรดาศาสดารุ่นก่อนๆ
การประกอบพิธีฮัจญ์ที่มักกะห์
การวุกุฟที่อาราฟะห์
การ เลือกให้อาราฟะห์เป็นหนึ่งจากสถานที่วุกุฟ อันเนื่องมากจากอาราฟะห ์มีความสำคัญทาง ประวัติศาสตร์โลก ซึ่งอัลลอฮ์ได้ทรงกำหนดให้สถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่พบกันระหว่างท่านนบีอาดัม และพระนางฮาวาอ์ เป็นสถานที่ที่พระองค์ทรงสั่งใช้ให้บรรดาศาสดาปฏิบัติศาสนกิจต่อพระองค์ เป็นสถานที่ ตอบรับคำวิงวอนจากพระองค์ เป็นสถานที่ที่อัลลอฮ์ทรงอภัยโทษ และลบล้างความผิดต่างๆ จากปวงบ่าว

การพำนักที่มีนา
ใน ยุคก่อนอิสลาม อาหรับส่วนใหญ่จะมารวมตัวกันที่มีนา และทำการกล่าวโอ้อวดเชื้อสาย เผ่าพันธุ์ ความใจบุญ ด้วยกับโวหารและสำนวนที่สละสลวย พวกเขาได้มุ่งมาจากสถานที่แล้งแค้นมายังมีนา เพื่อทำการซื้อขาย เพราะมีนาในขณะนั้นเป็นที่ตั้งของตลาดมากมาย อาทิเช่น ตลาดอุกกาซ ตลาดซิลมาญาซ ตลาดมัจนะห์ อิสลามยอมรับถึงผลประโยชน์ที่ได้จากการรวมตัว ร่วมสังคมกันเช่นนี้ แต่ทว่าอิสลามได้เปลี่ยนการโอ้อวดมาเป็นการกล่าวซิกรุ้ลลอฮ์ การกล่าวตัสเบียะห์ การกล่าวสรรเสริญ อัลลอฮ์ และการกล่าวขอบคุณอัลลอฮ์แทน เป็นสิ่งที่แน่ชัดว่า การรวมตัวและการพำนักของผู้ประกอบ พิธีฮัจญ ์ในสถานที่นี้ เป็นสัญลักษณ์ของอัลอิสลาม การแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ทางด้านวัตถุ และ วรรณกรรม เป็นสิ่งที่แสดงถึงความยิ่งใหญ่ ให้กับมุสลิมในสายตาของศัตรูอิสลาม อีกทั้งการรวมตัวกัน ในสถานที่นี้ ยังเป็นการผูกมิตร จิตสัมพันธ์ต่อกันระหว่างพี่น้องมุสลิมที่อยู่ต่างเชื้อชาติ ต่างถิ่นฐาน เช่นเดียวกับการรวมตัวในสถานที่ต่างๆ ในการประกอบพิธีฮัจญ์

การเดินซะแอระหว่าง ซอฟา และ มัรวะห์
ซอ ฟา และ มัรวะห์ เป็นชื่อของสถานที่ที่มีความสำคัญในการประกอบพิธีฮัจญ์ และวิธีในการเดินซะแอ ระหว่างสองสถานที่นี้ ก็คือ การที่ผู้ประกอบพิธีฮัจญ์ ต้องเดินจากจุดหนึ่งมายังอีกจุดหนึ่งสมือนกับ ผู้ที่ค้นหา สิ่งหนึ่งสิ่งใดอยู่ ที่มาของการเดินซะแอนั้น อันเนื่องมาจากพระนางฮาญัร ผู้เป็นภรรยาของท่านศาสดา อิบรอฮีม ได้แสวงหาน้ำให้กับตนเองและบุตร (อิสมาแอล) ในสถานที่แห่งนี้ นางได้แสวงหาน้ำและวิงวอน ต่ออัลลอฮ์อย่างนอบน้อม เพื่อที่พระองค์จะได้ประทานน้ำเป็นการดับกระหาย ให้กับตัวนางและบุตรทันใดนั้น น้ำที่ถูกเรียกว่า “ ซำซำ ” ก็ถูกพุดขึ้นมาจากดิน ซึ่งเป็นความโปรดปรานของอัลลอฮ์ ที่มีต่อมนุษย์สืบต่อกัน มาจนถึงทุกวันนี้ ดังนั้นการเดินซะแอระหว่างซอฟา และ มัรวะห์ เป็นการแสดงถึงความปรารถนา ซึ่งความ เมตตา และการช่วยเหลือจากอัลลอฮ์ อีกทั้งการเดินซะแอนั้นยังเป็นการย้อนระลึกถึงประวัติศาสตร์อิสลาม ที่เกี่ยวกับพระนางฮาญัร และท่านศาสดาอิสมาแอลอีกด้วย
กาขว้างเสาหิน
การขว้างเสาหินนั้นเป็นวิทยปัญญาอย่างหนึ่ง ซึ่งเป้าหมายของการขว้างเสาหินนั้นก็ คือ การขว้าง “ อิบลิส ” มารร้ายที่อัลลอฮ์ทรงสาปแช่ง การขว้างเสาหินนั้นจะต้องขว้างให้ครบสามต้น ซึ่งต้นแรกเรียกเป็น ภาษาอาหรับว่า “ ญุมร่อตุ้ลอากอบะห์ ” ต้นที่สองเรียกว่า “ ญุมร่อตุ้ลวุซตอ ” และต้นที่สาม “ ญุมร่อตุ้ลซุกรอ ” โดยอาหรับบางกลุ่มจะเรียกต้นแรกว่า “ อิบลิสกุบรอ ” ต้นที่สอง “ อิบลิสวุซตอ ” และต้นสุดท้ายเรียกว่า “ อิบลิสซุกรอ ” เดิมทีอาหรับในยุคก่อนอิสลามได้ทำการขว้างเสาหิน มาก่อนอิสลามแล้ว โดยตามบัญญัติใช้ของท่านศาสดาอิบรอฮีม และเมื่อยุคอิสลามได้มาถึง บัญญัติที่ถูกใช้ ในสมัยศาสดาอิบรอฮีมก็ได้ถูกนำมาปฏิบัติอีกครั้ง ที่มาของการ ขว้างเสาหิน ก็เพื่อเป็นการระลึกและปฏิบัติรอยตามท่านศาสดาอิบรอฮีม เนื่องจากอัลลอฮ์ทรงลง วิงวอน (วาฮี) มายัง แผ่นดินอันศักดิ์สิทธิ์นี้ ให้ท่านศาสดาอิบรอฮีมเชือดผู้ที่เป็นลูกของตนเองนามว่าอิสมาแอล เมื่อศาสดาอิบรอฮีม ได้รับบัญชาเช่นนั้น ท่านจึงตอบรับคำบัญชาใช้ของอัลลอฮ์ ทันใดนั้นก็ได้ถูกรังควาน จากชัยตอนมารร้ายโดยพวกมันได้ห้ามมิให้ท่านศาสดาอิบรอฮีม ปฏิบัติตามบัญชาใช้ของอัลลอฮ์ได้สำเร็จ ดังนั้นท่านศาสดาอิบรอฮีมจึงได้หยิบก้อนกรวด และขว้างใส่ชัยตอนทันที นี่คือที่มาของการขว้างเสาหิน ต้นแรก เมื่อแผนการอันชั่วร้ายนี้ล้มเหลวชัยตอนจึงได้เบนเข็มมุ่งเป้าหมายมายังพระ นางฮาญัร บอกเล่า ถึงการกระทำของศาสดาอิบรอฮีม ที่จะเชือดบุตรชายของตน ดังนั้น พระนางฮาญัรจึงได้ขับไล่ ชัยตอน โดยการขว้างก้อนกรวดใส่ นี่ก็คือที่มาของการขว้างเสาหินต้นที่สอง เมื่อแผนการล้มเหลว ทั้งสองครั้ง ชัยตอน มิได้ลดความพยายามเบนเข็มมาหาท่านอิสมาแอล ผู้เป็นบุตรชาย บอกเล่าถึงการกระทำของบิดาของเขา โดยกล่าว กับท่านอิสมาแอลว่า “ การกระทำเช่นนี้ไม่เคยเกิดขึ้น ในโลกนี้ตลอด ประวัติศาสตร์มนุษย์ชาติ ตั้งแต่วันที่อัลลอฮ์ทรงสร้าง โลกนี้มา ” แล้วท่านศาสดาอิสมาแอลก็มิได้รอช้า หยิบก่อนกรวดขึ้นมา แล้วขว้างใส่ชัยตอนทันที และนี่ก็คือที่มา ของการ ขว้างเสาหินต้นที่สาม ดังนั้นเป้าหมายของการขว้างเสาหิน ก็เพื่อเป็นการปฏิบัติ ตามรอยท่านศาสดาอิบรอฮีม ท่านศาสดา อิสมาแอล และพระนางฮาญัรอีกทั้งยังเป็นการระลึกถึงเหตุการณ์ทางด้านประวัติศาสตร์อิส ลามอีกด้วย
การโกนศีรษะหลังจากเสร็จสิ้นการครองเอี๊ยะรอม
การ โกนศีรษะเป็นเครื่องหมายของผู้ที่เสร็จสิ้นการครองเอี๊ยะรอม โดยผู้เสร็จสิ้นจากการครองเอี๊ยะรอม แล้วจะต้องมุ่งหน้า มาทำการตอวาฟอำลา ( ตอวาฟวิดะอ์) ยังบัยตุ้ลลอฮ์ เป็นที่รู้กันว่าบัยตุ้ลลอฮ์นั้นเป็น สถานที่อันมีเกียรติต่อชาวอาหรับ ในยุคก่อนอิสลามและยุคอิสลาม ดังนั้นมารยาทของการอำลาในยุคนั้น ผู้อำลาต้องอยู่ในสภาพที่สะอาดหมดจด ปราศจากการมีผม
เช่นเดียวกันกับบ่าวเมื่ออำลานาย ของตน เขาจะต้องอำลาไปในสภาพที่ดีและหมดจดที่สุด การโกนศีรษะเป็นสิ่งหนึ่งที่อิสลามได้สั่งใช้แก่ชายที่ เสร็จสิ้นจากการครองเอี๊ยะรอม โดยไม่บัญญัติใช้แก่สตรี อีกทั้งยังห้ามมิให้สตรี โกนศีรษะอีกด้วย เพราะได้มีรายงานมาจากพระนางอาอิชะห์ว่า “แท้ จริงท่านนบีได้ห้ามมิให้สตรีใดโกนศีรษะของตน” เพราะการโกนศีรษะของสตรีนั้นจะเหมือนกับผู้ชาย ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ไม่มีภรรยาของท่านศาสดามูฮัมหมัด คนใดโกนศีรษะ ทว่าเพียงแค่ตัดผมเพียงน้อยนิดเท่านั้น
การจูบหินดำ
“หิน ดำได้ถูกประทานลงมาจากสวรรค์ ในสภาพที่มีความขาวจัดประดุจน้ำนม ต่อมาความชั่ว ของมนุษย์ได้ทำให้มันเปลี่ยน เสีเป็นสีดำ ” แน่นอนสีดำนั้นมีอยู่เฉพาะหัวของหินดำเท่านั้น แต่ส่วนที่เหลือ เป็นสีขาว ซึ่งบอกเล่าโดยมูฮัมมัด อิบนุ นาเฟียะอฺ อัลคอซาอีย์ เพราะเขาเห็นด้วยกับตาของเขา โดยเขา กล่าววา “ ฉัน ได้สังเกตหินดำในขณะที่มันแตกเป็นชิ้นๆ เห็นว่าความดำนั้นมีอยู่บนหัวของหินดำเ ท่านั้น และส่วนที่เหลือของมันเป็นสีขาว” จากเหตุผลข้างต้นนี้เอง ทำให้เราได้รู้ว่า สิ่งต่างๆ ที่อัลลอฮ์ (ซุบฮาฯ) ทรงสร้างขึ้นมานั้น มีโทษและประโยชน์ และมี คุณลักษณ์ความพิเศษที่ต่างกันออกไป ดังนั้นหินดำก็คือวัตถุชิ้นหนึ่งที่อัลลอฮ์ให้ความพิเศษแก่มัน ให้ความสามารถแก่มัน เช่นเดียวกัน พระอาทิตย์และดวงจันทร์ก็คือวัตถุหนึ่งที่อัลลอฮ์ทรงสร้างขึ้น โดยพระองค์จะให้ความสามารถแก่มันทั้งสอง เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสิ่งต่างๆ โดยเฉพาะมนุษย์
การสวมผ้าครองเอี๊ยะรอมที่ไร้ซึ่งตะเข็บ
ใน การครองเอี๊ยะรอมนั้น อัลลอฮ์ได้สั่งห้ามเรามิให้สวมเสื้อผ้าที่มีตะเข็บ และห้ามจากการปกปิดศีรษะ สำหรับผู้ชาย เพื่อเป็นการแสดงถึงความน้อมนอบและต้อยต่ำอย่างที่สุดของผู้เป็นบ่าวต่อพระ ผู้เป็นเจ้า ดังที่มี คำวิงวอนต่ออัลลอฮ์ว่า “ โอ้ พระผู้ทรงอภิบาล ข้าน้อยไร้ซึ่งกรรมสิทธิ์ใดๆในตัวข้อน้อยนี้ และแน่นอน ทุกสรรพสิ่งที่ถูกบังเกิดขึ้นมานี้นั้น ข้าน้อยไร้ซึ่งสิทธิใดแม้แต่เพียงเล็กน้อย โดยที่ท่านนั้นคือผู้ครอง กรรมสิทธิ์ในถูกสิ่งที่บังเกิดขึ้นมา และต่อไปจะบังเกิด มาอย่างแท้จริง” ที่มาของการสวมผ้าครองเอี๊ยะรอม ก็คือ เสื้อ ผ้าของชาวอาหรับสำหรับบุรุษชายในสมัยท่านศาสนาอิบรอฮีม มีความง่ายใด ถึงขนาดกล่าวได้ว่า ไม่มีความแตกต่างกันมากนักกับการสวมผ้าครองเอี๊ยะรอม การกำหนดให้ผ้าครอง เอี๊ยะรอมเป็นสีขาวนั้น ก็เนื่องจากว่า สีขาวเป็นสัญลักษณ์แห่งความสะอาด บริสุทธิ์ และการกำหนดให้ผู้ประกอบพิธีฮัจญ์สวม เสื้อผ้าที่เรียบง่ายเช่นนี้ ก็เพื่อเป็นสิ่งบ่งชี้ว่า มนุษย์จะต้องเตรียมตัวออกจากภพนี้ โดยไร้ซึ่งเครื่องประดับไร้ซึ่งเครื่องแต่งกาย และไร้ซึ่งความสวยงาม
การกำหนดให้ผ้าครองเอี๊ยะรอมเป็นสีขาวนั้น ก็เนื่องจากว่า สีขาวเป็นสัญลักษณ์แห่งความสะอาด บริสุทธิ์ และการกำหนดให้ผู้ประกอบพิธีฮัจญ์สวม เสื้อผ้าที่เรียบง่ายเช่นนี้ ก็เพื่อเป็นสิ่งบ่งชี้ว่า มนุษย์จะต้องเตรียมตัวออกจากภพนี้ โดยไร้ซึ่งเครื่องประดับไร้ซึ่งเครื่องแต่งกาย และไร้ซึ่งความสวยงาม
การสวมผ้าเอี๊ยะรอมก็ยังเป็นการแสดงให้เห็นว่า มนุษย์ทุกคน ไม่ว่าจะอยู่ใน ตำแหน่งกษัตริย์ ประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี เศรษฐี และคนยากจน มีสถานะเดียวกัน นั้นก็คือบ่าวของอัลลอฮ์ ซึ่งจะต่างกันที่ความภักดี (ตออัต) ต่ออัลลอฮ์ที่ซ้อนอยู่ในจิตใจ การค้างแรมที่ “มุซด้ารีฟะห์” เนื่องจากผู้ประกอบพิธีฮัจญ์ได้ใช ้ระยะเวลา ตลอดทั้งวันที่จะมุ่งหน้าไปยังมีนา เพื่อเป็น การพักผ่อนและลดความเหนื่อยล้าจากการเดินทาง อัลลอฮ์จึงได้ บัญญัติการค้างแรมที่มุซด้ารีฟะห์ลงมา

การเชือดอุดฮียะห์
การ เชือดอุดฮียะห์เป็นการปฏิบัติตามท่านศาสดาอิบรอฮีม ในขณะที่อัลลอฮ์ทรงสั่งใช้ให้เชือดบุตรชาย ของตัวเอง แล้วท่านศาสดาอิบรออีม ก็ปฏิบัติตามคำสั่งของอัลลอฮ์ ต่อมาอัลลอฮ์ก็ทรงให้ท่านศาสดาถ่ายตัว บุตรชาย โดยให้เชือดแกะ แทนในด้านของการเชือดอุดฮียะห์นี้ มีวิทยปัญญาซ้อนอยู่ดังต่อไปนี้
1. เพื่อเป็นการแสดงถึงความภักดีต่อผู้สร้างอย่างที่สุด แม้นจะถูกบัญญัติใช้ให้เชือดบุตรของตนเอง
2. เพื่อเป็นการขอบพระทัยต่ออัลลอฮ์ถึงพระเมตตาที่ให้ถ่ายตัวบุตรชายของท่าน ศาสดาอิบรอฮีม และแน่นอน การจ่ายอุดฮียะห์นั้นจำเป็นต่อผู้ประกอบพิธีฮัจญ์แบบ “ ตะมัตตัวะอ์ ” และ “ กิรอน ” การตอวาฟกุดูม ( ตอวาฟขณะมาถึง) บัยตุ้ลลอฮ์อัลฮารอมเป็นสถานที่อันทรงเกียรติยิ่งกว่าสถานที่ใดๆ ในภพนี้ เป็นมัสยิดแห่งแรกที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้เกียรติต่ออัลลอฮ์ผู้ทรงสร้าง ปรากฏว่าเป็นมารยาทอย่างยิ่ง ที่ผู้ประกอบพิธีฮัจญ์จะต้องแสดงความเคารพสถานที่ ด้วยการตอวาฟรอบกะบะห์ก่อนที่จะทำสิ่งอื่นใด และจะต้องนำมาทำก่อนการละหมาด ผู้ใดที่ทำการละหมาดก่อนการตอวาฟ ถือว่า เขาผู้นั้นเป็นผู้ไร้มารยาทอย่างมาก เมื่อทำการตอวาฟกุดูมเสร็จแล้ว มีสุนัต ให้ทำการละหมาดสุนัตสองรอกาอัตที่มากอมนะบีอิบรอฮีม ซึ่งการกระทำเช่นนี้ถือว่า เป็นการแสดงความเคารพที่สมบูรณ์ที่สุด
อ้างอิงจาก : หนังสือ ฮิกมะอ์ อัตตัชเรียะอฺ ว่าฟัลซะฟาตีฮี 27 พ.ย. 51 จากเว็บไซต์ www.siamic.com
การตอวาฟวิดะอ์ (ตอวาฟอำลา)
เมื่อผู้ประ กอบพิธีฮัจญ์ได้ทำศาสนกิจฮัจญ์เสร็จสิ้น และต้องการที่จะกลับไปยังถิ่นฐานของตน เขาจะต้อง ทำการอำลาบัยติ้ลลอฮ์อัลฮารอมเสมือนกับผู้มาเยือนอำลาผู้ให้การตอนรับขณะ กลับถิ่นฐานของตน การอำลานี้ ถือเป็นการให้เกียรติแก่บัยตุ้ลลอฮ์ และเพื่อเป็นการแสดงความรักที่มีต่อบัยตุ้ลลอฮ์ และการแสดง ความรักต่อบัยตุ้ลลอฮ์นั้นก็ หมายถึงการแสดงความรักต่อผู้เป็นเจ้าของบัยตุ้ลลอฮ์นั้นก็คืออัลลอฮ์ การเยี่ยม ท่านศาสดามูฮัมหมัด (ซิยาเราะห์นะบี) ท่านศาสดามูฮัมหมัดถือว่า เป็นสื่อกลางที่ใหญ่ที่สุดที่ จะเชื่อมต่อ ระหว่างอัลลอฮ์กับมนุษย์ และท่านยังเป็นความเมตตาของอัลลอฮ์ที่มีต่อมวลมนุษย์ โดยการนำสาร แห่งพระเจ้ามายังมนุษย์สอนมนุษย์ให้รู้ถึงสิ่งใดดีสิ่งใดชั่ว เป็นผู้นำทางไปสู่แนวทางอันเที่ยงตรง

การประกอบพิธีฮัจญ์ที่นครเมกะห์ ประเทศซาอุดิอาราเบีย

การประกอบพิธีฮัจญ์


บรรดาผู้ประกอบพิธีฮัจญ์กำลังมุ่งหน้าสู่มุซดะลิฟะหฺ



บรรดาผู้ประกอบพิธีฮัจญ์ในมินา
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :
 


สถิติจำนวนผู้เข้าชม
เปิดเมื่อ12/04/2012
อัพเดท23/02/2013
ผู้เข้าชม4703
แสดงหน้า8900
Facebook Muslimstudentrru
Facebook คณะกรรมการ
 
 
เวลาละหมาด
ปฎิทิน
May 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
   
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31